การขยายพันธุ์แบบจุลภาคของหนอนตายหยาก ในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

อภิชาติ ชิดบุรี
พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง
พิทักษ์ พุทธวรชัย

บทคัดย่อ

การขยายพันธุ์ต้นหนอนตายหยากในสภาพปลอดเชื้อเพื่อเพิ่มปริมาณ  ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้สำหรับป้องกันและ ฆ่าหนอนของแมลง ยอดจำนวนมากสามารถชักนำได้จากส่วนของปลายยอดจากต้นหนอนตายหยากที่เลี้ยงบนอาหารสูตร  MS (1962) เติม BA ความเข้มข้น 2 มก./ล. ส่วนการเพิ่มจำนวนยอดได้เมื่อเลี้ยงบนอาหารสูตร MS (1962) ที่เติม BA  ความเข้มข้น  4 มก./ล. ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 1 มก./ล. คือ 3.33 ยอดต่อชิ้นส่วน  สามารถการชักนำให้เกิดรากของต้นในสภาพปลอดเชื้อได้เมื่อเลี้ยงบนอาหารสูตร MS (1962) ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1 มก./ล. หลังจากนั้นทำการย้ายออกปลูกมีการรอดตายสูงถึง  80 เปอร์เซ็นต์  ลักษณะทางกายวิภาคของพืชที่ขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อมีลักษณะเหมือนกับต้นที่ขยายพันธุ์โดยวิธีแยกหน่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติภาส ชิตโชติ. 2530. การผลิตต้นพันธุ์ขิงปลอดโรคโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 18 หน้า.
นันทวัน บุณยะประภัศร และ อรนุช โชคชัยเจริญพร. 2543. สมุนไพรพื้นบ้าน. บริษัท ประชาชน จำกัด, กรุงเทพฯ.150 หน้า.
เบญจพร เสียงเพราะ. 2536. การขยายพันธุ์ขิงโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. โครงงานชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 38 หน้า.
อภิชาติ ชิดบุรี พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง และพิทักษ์ พุทธวรชัย. 2543. ผลของระดับความเข้มข้น BA ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนต้นกระชายดำในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารเกษตร 17(2): 100-105.
Gupta S. K., S. P. S. Khanuja and S. Kumar. 2001. In vitro micropropagation of Lippia alba. Current Science 81(2): 206-210.
Jiwajinda S., N. Hirai, K. Watanabe, V. Santisopasri, N. Chuengsamarnyart, K. Koshimiazu and H. Ohigashi. 2001. Occurrence of the insecticidal 16,17-didehydro-16(E)-stemofoline in Stemona collinsae. Phytochemistry 56: 693-695.
Palai, S. K., G.R. Rout, S. Samantaray and P. Das. 2000. Biochemical changes during in vitro organogenesis in Zingiber officinale Rosc. Journal of Plant Biology 27: 153-160.