ผลของกรดแอสคอร์บิกต่อการเกิดสีน้ำตาล และกิจกรรมของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส ของผลลำไยพันธุ์ดอหลังการเก็บเกี่ยว

Main Article Content

ศันสนีย์ กาบบัว
ธนะชัย พันธ์เกษมสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของกรดแอสคอร์บิกต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของลำไยพันธุ์ดอ  โดยการแช่ผลลำไยในสารละลายกรดแอสคอร์บิกความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์  นาน 0 (ชุดควบคุม), 1, 5, 10, 20 และ 30 นาที  เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่า ผลลำไยมีอายุการเก็บรักษาได้  15, 21, 21, 18, 15 และ 15 วัน ตามลำดับ โดยผลลำไยที่แช่ในสารละลายกรดแอสคอร์บิกความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ นาน 1 และ 5 นาที มีการสูญเสียน้ำหนักสด  น้ำหนักแห้งเปลือก  กิจกรรมของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส และการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกผลน้อยกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีปริมาณวิตามินซี  และปริมาณสารประกอบฟีนอลมากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ. 2548. ผลของสารเคมี บางชนิดและอุณหภูมิที่เก็บรักษาต่อการเกิดสีน้ำตาล ของเปลือกลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 234 หน้า.
จริงแท้ ศิริพานิช. 2546. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.
พิทยา สรวมศิริ และพาวิน มะโนชัย. 2545. การผลิตลำไยนอกฤดูอย่างมืออาชีพ.โรงพิมพ์ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่. 64 หน้า.
พรอนันต์ บุญก่อน. 2547. อิทธิพลของกรรมวิธีรักษาสีเปลือกต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี ของผลลิ้นจี่ระหว่างเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่าง ๆ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 204 หน้า.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมแห่งชาติ, นครปฐม. 365 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลำไย. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/oaewebsite/oae_imex.php (12 ธันวาคม 2549).
อินทิรา ลิจันทร์พร ชัยรัตน์ เตชวุติพร และศิริชัย กัลยาณรัตน์. 2545. ผลของกรดแอสคอร์บิกและกรดซิตริกต่อการเกิดสีน้ำตาลของผลลองกอง. วารสาร วิทยาศาสตร์เกษตร 33(6): 119-121.
Burton, W.G. 1982. Postharvest Physiology of Food Crops. Longman Group,London. 339 pp.
Gorny, J.R., B. Hess-Pierce, R.A. Cifuentes and A.A. Kader. 2002. Quality changes in fresh-cut pear slices as effected by controlled atmospheres and chemical preservatives. Post. Bio. Tech. 24: 271-278.
Jiang,Y., Z. Zhang, D.C. Joyce and S. ketsa. 2002. Postharvest biology and Handling of longan fruit (Dimocarpus langan Lour.). Post. Bio. Tech. 26: 241-252.
Marshall, M.R., J. Kim and C.I. Wei. 2000. Enzymatic browning in fruits, vegetables and seafoods. [Online]. Available: http://www.fao.org/ag/ags/agsi/ENZYMEFINAL/Enzymatic%20Browning.html (November 12, 2006).
Pongsakul N., B. Leelasart and N. Rakariyatham. 2006. Effect of L-cysteine, potassium metabisulfite, ascorbic acid and citric acid on inhibition of enzymatic browning in longan. Chiang Mai J. Sci. 33: 137-141.
Soliva, R.C., P. Elez, M. Sebastian and O. Martin. 2000. Evaluation of browning effect on avocado puree preserved by combined methods. Innov. Food Sci. Emer. Tech. 1: 261- 268.
Son, S.M., K.D.Moon and C.Y. Lee.2001. Inhibitory effects of various antibrowning agents on apple slices. Food Chem. 73: 23-30.
Walker, J.R.L. 1977. Enzymatic browning in foods: its chemistry and control. Food Technol. 12: 19-25.
Whangchai, K., K. Saengnil and J. Uthaibutra. 2006. Effect of ozone in combination with some organic acids on the control of postharvest decay and pericarp browning of longan fruit. Crop Protection 25: 821-825