คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คลีฟ ที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของใบผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คลีฟ ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่างๆ พบว่า เมื่อ เก็บรักษานาน 2 วัน ใบผักกาดหอมที่ปลูกในระบบปกติมีการสูญเสียน้ำหนักสดน้อยกว่า และมีอายุการเก็บรักษาสั้นกว่าใบผักกาดหอมที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ นอกจากนี้ใบผักกาดหอมที่ปลูกในระบบปกติมียังปริมาณวิตามินซีสูงกว่าใบผักกาดหอมที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ แต่ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด และปริมาณไนเตรท ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใบผักกาดหอมที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องมีการสูญเสียน้ำหนักสดมากที่สุด คือ 4.86±1.63 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปริมาณวิตามินซีของใบผักกาดหอมที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 0, 4 และ 8 องศาเซลเซียส มีค่าสูงกว่าใบผักกาดหอมที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง คือ 9.43±1.39, 9.59±2.04, 10.38±2.05 และ 8.18±1.47 มิลลิกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับใบผักกาดหอมเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี และปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดสูงที่สุด คือ 0.15±0.04, 0.07±0.02 และ 0.22±0.06 มิลลิกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ อุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บรักษาไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไนเตรท
Article Details
References
จริงแท้ ศิริพานิช. 2544. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.
ดิเรก ทองอร่าม. 2547. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน: หลักการจัดการ การผลิต และเทคโนโลยีการผลิตเชิงธุรกิจในประเทศไทย. ธรรมรักษ์การพิมพ์, ราชบุรี. 724 หน้า.
ถวัลย์ พัฒนเสถียรพงศ์. 2534. ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. พรานนกการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 127 หน้า.
นพดล เรียบเลิศหิรัญ. 2538. การปลูกพืชไร้ดิน. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 100 หน้า.
นิพนธ์ ไชยมงคล. 2547. เทคโนโลยีการผลิตผัก (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.mju.ac.th/fac-agr/hort/vegetable/ ( 26 ธันวาคม 2547).
มนูญ ศิรินุพงศ์. 2544. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน: สู่การปฏิบัติในประเทศไทย. เจริญรัฐการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 90 หน้า.
ยงยุทธ ข้ามสี่. 2539. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน. ภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร. สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้, เชียงใหม่. 312 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2546. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 424 หน้า.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, นครปฐม. 364 หน้า.
อารักษ์ ธีรอำพน. 2544. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. บริษัทโชคเจริญมาร์เก็ตติ่ง จำกัด, นครราชสีมา. 128 หน้า.
Burns, I.G., A. Lee and A.J. Escobar-Gutierrez. 2004. Nitrate accumulation in protected lettuce. Acta Hort. 633: 271-278 .
Claypool, L.L. and R.M. Keefer. 1942. A Colorimetric method for CO2 determination in respiration studies. Proc. Amer. Soc. Hort. Sci. 40: 177-186.
Gurses, O.L.1983. Cayda nitrat miktarlari ve saglik acisindan irdelenmesi. Gida 8: 275-278.
Jacxsens, L., F. Devlieghere and J. Debevere. 2002. Temperature dependence of shelf-life as affected by microbial proliferation and sensory quality of equilibrium modified atmosphere packaged fresh produce. Postharvest Biology and Technology 26: 59-73.
Lipton, W.J. 1987. Senescence of leafly vegetable. HortScience 22: 854-859.
Maynard, D.N. and A.V. Barker. 1972. Nitrate content of vegetable crops. HortScience 7(3): 224-226.
McDougall, S. 2006. Location and agronomic influences on shelf–life in cos and iceberg lettce.National Vegetable Industry Centre Newsletter 25: 1-2.
Tosun, I. and N.S. Ustun. 2004. Nitrate content of lettuce grow in the greenhouse. Bulletin of Environmental Contamination and Toxicology 72: 109-113.
Smith, L. 1995. Calculations for Research Experiments Using Stored Fruit. Volume I. Queensland Department of Postharvest Industries Horticulture Group, Hamilton,
Queensland, Australia. 34 pp.
Whitham, F.H., D.F. Blaydes and R.M. Devin. 1971. Experiments in Plant Physiology. Van Nostrand Reinhold, New York. 245 pp.