การใช้ความสมดุลธาตุอาหารเพื่อปรับปรุงผลผลิต และคุณภาพของส้มสายน้ำผึ้ง: 1. ระบบการผลิตในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ภาวินี จันทร์วิจิตร
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเชื่อว่าเชียงใหม่เป็นแหล่งผลิตส้มเปลือกล่อนพันธุ์สายน้ำผึ้งใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยเฉพาะบริเวณแอ่งไชยปราการ-ฝาง-แม่อาย ซึ่งมี อ.ฝางเป็นศูนย์กลางการผลิตของกลุ่มสามอำเภอนี้ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบบการผลิตส้มเปลือกล่อนของ อ.ฝาง ใช้วิธีการสำรวจและสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิด จากเกษตรกรผู้ปลูกส้มเปลือกล่อน 7 ใน 8 ตำบล ของ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จำนวน 50 ราย ที่ทำสวนบนชุดดินที่ 59 ระหว่าง มีนาคม 2549 ถึง มีนาคม 2550 ผลการศึกษาพบว่า ส้มเปลือกล่อนมีที่ราบเชิงเขาและที่ดอนเป็นนิเวศเกษตรที่สำคัญ เดิมเป็นพื้นที่ปลูกพืช 7 ชนิดแต่ที่สำคัญ ร้อยละ 32.9 เคยเป็นสวนลิ้นจี่ เกษตรกร ร้อยละ 80.3 ระบุว่ามีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน แต่ละรายมีสวนเพียงแห่งเดียว ร้อยละ 88.7 เป็นสวนขนาดเล็ก สวนเกือบทั้งหมด ร้อยละ 93.4 ใช้พันธุ์สายน้ำผึ้ง และร้อยละ 94.4 ขยายพันธุ์ปลูกจากกิ่งตอน ต้นส้ม ร้อยละ 82.8 อยู่ในช่วงอายุ 2 – 5 ปี ซึ่งให้ผลผลิตแล้ว สำหรับการจัดการสวนนั้น ร้อยละ 69.0 ปลูกบนแปลงแบบยกร่องแห้ง มี 1 แถวต่อแปลง นิยมใช้ระยะปลูก 4 เมตร x 4 เมตร ร้อยละ 85.4 ให้น้ำแบบพ่นฝอยแบบมินิสปริงเกลอร์ อาศัยแหล่งน้ำจากสระขุดสูงถึง ร้อยละ 84.7 ชาวสวนมีการใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยเคมี สำหรับปุ๋ยเคมีพบหลากหลายถึง 17 สูตร แต่ที่นิยมใช้เป็น 15-15-15 ในช่วงการเติบโตทางกิ่งใบ และการพัฒนาผล ขณะที่ 0-13-21 ใช้ในช่วงพัฒนาดอก และ 13-13-21 ในระยะก่อนการเก็บเกี่ยว การตัดสินใจซื้อปุ๋ยและสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ เกษตรกรจะอาศัยประสบการณ์ตัวเองเป็นหลักแม้จะอาศัยแหล่งความรู้อื่น ๆ มาประกอบ และเมื่อผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 71 จำหน่ายแบบคละเกรดให้กับพ่อค้าคนกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2550. ปัญหาการใช้ส้มเปลือกล่อนปลอดโรค- ส้มร่วง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/th/Show Forums.aspx?id=3721 (27 สิงหาคม 2550).
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2545. มาตรฐานส้มเปลือกล่อนของประเทศไทย. หน้า 27-30. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนาแนวทางการพัฒนาส้มไทยสู่สากล. 8-10 ธันวาคม 2545. โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดยะลา.
ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์. 2549. ปุ๋ยหมัก ดินหมัก และปุ๋ยน้ำชีวภาพเพื่อการปรับปรุงดินโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 72 หน้า.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ ศิวาพร ธรรมดี. 2542. พันธุ์ไม้ผลการค้าในประเทศไทย: คู่มือเลือกพันธุ์สำหรับผู้ปลูก. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 292 หน้า.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ จงรักษ์ มูลเฟย และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2548. ระบบการผลิตส้มในเขตภาคเหนือตอนบน. หน้า 139-185. ใน: โครงการ ระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 1 ภาคเหนือตอนบน: องค์ความรู้และยุทธศาสตร์ในระบบการผลิตไม้ผล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2547. การจัดการดินและธาตุอาหารไม้ผล. ตำราวิชาการ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, เชียงราย. 31 หน้า.
รวี เสรฐภักดี. 2543. เสวนาส้ม: วิเคราะห์เจาะลึก. หน้า 23-27. ใน: เอกสารประกอบการฝึกอบรมภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรและศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 22-23 มกราคม 2543. โรงแรมชุมพรแกรนด์พาเลซ iจังหวัดชุมพร.
สุมิตรา ภู่วโรดม นุกูล ถวิลถึง สมพิศ ไม้เรียง พิมล เกษสยม และ จิรพงษ์ ประสิทธิเขตร. 2541. ความต้องการธาตุอาหารและการแนะนำปุ๋ยในทุเรียน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 196 หน้า.
สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. 2550. ส้มเปลือกล่อน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://chiangmai.doae.go.th/Report/stat_plantproduction.xls (23 สิงหาคม 2550).
อรุณศิริ กำลัง ยงยุทธ โอสถสภา วิสุทธิ์ วีรสาร และ จันทร์จรัส วีรสาร. 2546. การวิเคราะห์ใบเพื่อกำหนดแนวทางในการประเมินระดับธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมสำหรับลิ้นจี่ที่ปลูกในเขตภาคกลางของประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 203 หน้า.
เอกชัย พฤกษ์อำไพ และ ส่งสุข รัตนาภรณ์. 2547. คู่มือส้มโชกุน. เพ็ท–แพล้น พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 172 หน้า.
Wikipedia. 2007. Tangerine. (Online). Available: http://en.wikipedia.org/wiki/Tangerine (August 23, 2007).