ผลของรูปแบบทรงต้นและโพแทสเซียมคลอเรต ต่อคุณภาพและผลผลิตลำไย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการจัดทรงต้น 4 รูปแบบ คือ แบบวิธีทั่วไประยะปลูก 6x6 เมตร แบบทรงแจกันระยะปลูก 6x6 เมตร แบบระบบชิดระยะปลูก 2x4 เมตร และแบบตัดกิ่งสั้นรอบทรงพุ่มระยะปลูก 3x4 เมตร กับต้นลำไยพันธุ์ดออายุ 5 ปี โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และบังคับการออกดอกด้วยโพแทสเซียมคลอเรตราดให้ทางดินในอัตรา 100 กรัมต่อต้น ในแปลงทดลองของศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำไยหริภุญชัย จ.ลำพูน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2548 ถึง พฤศจิกายน 2549 พบว่าต้นที่ได้รับการจัดทรงต้นแบบ วิธีทั่วไปมีจำนวนช่อดอกมากกว่าต้นที่จัดทรงต้นแบบอื่น และให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ต่อต้นมากที่สุดคือ 26.87 กิโลกรัม ขณะที่ต้นที่ได้รับการจัดทรงต้นแบบระบบชิดให้ผลผลิตเท่ากับ 17.63 กิโลกรัมต่อต้น และให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ (ไร่) สูงที่สุด มีสัดส่วนขนาดผล AA : A : B : C ที่มีขนาดใหญ่มากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของคุณภาพผลจากต้นที่ได้รับการจัดทรงต้นแบบต่าง ๆ
จากการวิเคราะห์ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้าง ปริมาณน้ำตาล และน้ำตาลรีดิวซิงของยอด และใบในช่วงก่อนการออกดอกของต้นที่ได้รับการจัดทรงต้นแบบต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทำนองเดียวกัน โดยมีค่าสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่ 3 หลังจากการให้สาร จากนั้นลดลงในสัปดาห์ที่ 4 ในระยะที่มีการแทงช่อดอก ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้าง ปริมาณน้ำตาล และน้ำตาลรีดิวซิงของกิ่งมีการลดลงหลังจากให้สาร และลดลงต่ำสุดในสัปดาห์ที่ 5 จากนั้นเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 6
Article Details
References
พาวิน มะโนชัย ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2547. เทคโนโลยีการผลิตลำไย. สำนักพิมพ์ ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ. 128 หน้า.
รวี เสรฐภักดี. 2544. หลักการพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 470 หน้า.
สุรินทร์ นิลสำราญจิต และพิทยา สรวมศิริ. 2546. การจัดทรงพุ่มของลำไยเพื่อการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม. รายงานการวิจัยตามโครงการวิจัยในศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำไย หริภุญชัย งบประมาณปี 2546. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 40 หน้า.
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 1990. Official Methods of Analysis. Association of Official Analytical Chemists, Inc., Arlington, Virginia. 1298 pp.
Chauhan, P. S. and R. M. Pandey. 1984. Relative 14CO2 fixation by leaves and fruits, and translocation of 14C-sucrose in mango. Sci. Hort. 22: 121-128.
Dowler, W. W. and F. D. King. 1966. Seasonal changes in starch and soluble sugar content of dormant peach tissues. Proc. Amer. Soc. Hort. Sci. 89: 80-84.
Edmond, J. B., T. L. Senn and F. S. Andrews. 1964. Fundamentals of Horticulture. 3rd. ed. McGraw-Hill,New York. 476 pp.
Hudson, R. L. 1972. The Pruning Handbook. Prentice–Hall, Inc., Englewood Cliffs. 80 pp.
Rolland, F., E. Baena-Gonzales and J. Sheen. 2006. Sugar sensing and signaling in plants: conserved and novel mechanisms. Annu. Rev. Pl. Biol. 57: 675-709.
Salisbury, F. B. and C. W. Ross. 1992. Plant Physiology. 4th ed. Wadsworth Publishing, Belmont. 682 pp.
Yu, T.-S., W.-L. Lue, S.-M. Wang and J. Chen. 2000. Mutation of arabidopsis plastid phosphoglucose isomerase affects leaf starch synthesis and floral initiation. Pl. Physiol. 123: 319-326.