การปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ของพริกเผ็ด โดยใช้ลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน

Main Article Content

จุทามาส คุ้มชัย
มณีฉัตร นิกรพันธุ์

บทคัดย่อ

เมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 มีราคาแพง ดังนั้น จึงนำสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันควบคุมโดยยีนและไซโทพลาซึมมาใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ โดยใช้สายพันธุ์แม่จำนวน  3  สายพันธุ์  มีจีโนไทป์ Smsms ผสมกับสายพันธุ์พ่อ 2 พันธุ์ ได้ลูกผสมจำนวน 6 คู่ผสม พบว่าพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 2735BC2 # 16-1-4 × พจ. 5-3-1-1 ให้ผลผลิตดีที่สุด (1,538.47 กิโลกรัม/ไร่) และมีเปอร์เซ็นต์ความดีเด่นสูงสุดในกลุ่มลูกผสมทั้ง 6 คู่  สายพันธุ์ พจ. 5-3-1-1 ใช้เป็นสายพันธุ์พ่อ ให้ลูกผสมชั่วที่ 1 มีผลผลิตอยู่ในช่วง 1,081.13 -1,538.47 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ กับสายพันธุ์ พจ. 5-3-1-1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ (1,376.87 กิโลกรัม/ไร่) และพันธุ์การค้าพันธุ์แม่ปิง 80  และพันธุ์จักรพรรดิ (1,346.81 และ 2,076.81 กิโลกรัม/ไร่) ตามลำดับ เมื่อสายพันธุ์ พจ. 25-1-1-1  ใช้เป็นสายพันธุ์พ่อให้ลูกผสมชั่วที่ 1 มีผลผลิต อยู่ในช่วง 545.06 - 987.56  กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งต่ำกว่าสายพันธุ์พ่อ (1,157.91  กิโลกรัม/ไร่) และพันธุ์การค้าแม่ปิง 80  และพันธุ์จักรพรรดิ (1,346.81  และ  2,076.81 กิโลกรัม/ไร่) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ วชิรบรรจง. 2545. การศึกษาความเป็นหมันในพริกเผ็ด (Capsicum annuum L.). ปัญหาพิเศษ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 40 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2548. ฐานความรู้ด้านพืชกรมวิชาการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th./pl_data/02_LOCAL/oard4/chili/body.html (15 กรกฎาคม 2548).

กฤษฎา สุขวิวัฒน์. 2544. การพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่งของพริกเผ็ด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 90 หน้า.

ดำเนิน กาละดี. 2545. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช. มิ่งเมือง, เชียงใหม่. 256 หน้า.

มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2541. พริก. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 196 หน้า.

Ahmed, N., M. I. Tanki and J. Nayeema. 1999. Heterosis and combining ability studies in hot pepper (Capsicum annuum L.). Applied Biological Research 1(1): 11-14.

Ahmed, Z. and V. Pandey. 2002. Heterosis and combining ability in diallel crosses of sweet pepper (Capsicum annuum L.). Vegetable Science 29(1): 66-67.

Basset, M. J. 1986. Breeding Vegetable Crops. AVI Publishing Company, Inc., Westport, Connecticut. 584 pp.

Berke, T. G. 2000. Hybrid seed production in Capsicum. Journal of New Seeds 1(3/4): 49-67

Bosland, P. W., J. Iglesias and M.M. Gonzales. 1993. ‘Numex Sweet’ paprika chile. Hortscience 28(8): 860-861.

Damke, M. M. and V. J. Kawarkhe. 1996. “Surakta” (AKC 79-18) an improved chili variety. Plant Breeding Abstracts 67(9).

Doshi, K. M. and P. T. Shukla. 2000. Genetic of yield and its components in chilli (Capsicum annuum L.). Capsicum and Eggplant Newsletter 19: 78-81.

Nikolova, V., V. Todorova, S. Daskalov, Y. Todorov and V. Stoeva. 2001. Pollen fertility of pepper cultivars and their hybrids on male sterility basis. Capsicum and Eggplant Newsletter 20: 50-52.

Patel, J. A., M. J. Patel, A. S. Bhanvadia, R. R. Acharya and M. K. Bhalala. 2001. Extent of natural cross pollination with GMS lines in chilli (Capsicum annuum L.). Capsicum and Eggplant Newsletter 20: 35-37.

Purseglove, J. W. 1968. Tropical Crops: Dicotyledons. Vol. 2. Longmans, London. 719 pp.