แนวทางการแก้ปัญหาไฟป่าแบบผสมผสานในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยของเกษตรกรในตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฐพงษ์ โพธิ์ศรี
รุจ ศิริสัญลักษณ์
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
สุนทร คำยอง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกับการใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนสถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาในเชิงคุณภาพ พบว่า เกษตรกรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยมีความคิดเห็นว่าปัจจุบัน ไฟป่ามีความรุนแรงและส่งผลกระทบมากขึ้น เงื่อนไขและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาไฟป่าในพื้นที่มี 2 ประเด็นหลัก คือ การเข้าไปใช้ประโยชน์ของประชาชนและการขาดความร่วมมือในการจัดการของภาครัฐและชุมชน ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหาไฟป่าจะต้องมีการปรับทัศนคติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชน และการจัดการสนับสนุนในด้านงบประมาณในการป้องกันไฟป่า ส่วนด้านการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการไฟป่าพบว่ายังขาดความชัดเจนในการดำเนินการป้องกันปัญหาไฟป่า


ผลการศึกษาจากสถิติเชิงพรรณนาพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการเกิดปัญหาไฟป่าและหมอกควันทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเงื่อนไขและปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่าเกษตรกรเห็นด้วยว่ามีสาเหตุเนื่องมาจากการเผาพื้นที่ป่าเพื่อการเก็บหาของป่า ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าเกษตรกรเห็นด้วยอย่างยิ่งในหลายประเด็น เช่น ควรรณรงค์การปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนให้มีความรักและผูกพันกับพื้นที่ป่า และการใช้มาตรการกฎหมายที่รุนแรง ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่พบว่าปัญหาที่สำคัญคือ การจับกุมผู้กระทำผิดทำได้ยากเนื่องจากเส้นทางเข้าป่ามีหลายเส้นทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศิริ อัคคะอัคร. 2543. การควบคุมไฟป่าสำหรับประเทศไทย. สำนักควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ. 229 หน้า.

สถานีควบคุมไฟป่าเชียงใหม่. 2552. รายงานการเกิดไฟป่าแยกตำบล ตุลาคม 2547 สิงหาคม 2552.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 368 หน้า.

Yamane, T. 1967. Elementary Sampling. Theory. USA: Prentice Hall. 405 p.