สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
คำพังเพยที่ว่า เวลาและวารีไม่ไยดีจะคอยใคร เป็นความจริงเหลือเกิน ตอนนี้เวลาของปี ๒๕๕๔ ก็ผ่านมาถึงเดือนที่ ๖ หรือครึ่งปีเข้าไปแล้ว วารสารเกษตรฉบับที่ ๒ ของปีก็ถึงกำหนดออกอีกวาระหนึ่ง การออกวารสารปีละ ๓ ฉบับ ดูๆ เหมือนกับว่ามีเวลาระหว่างฉบับนานถึง ๔ เดือน แต่ความจริงแล้วระยะเวลาแค่นี้ไม่ถือว่ามากนัก เพราะเราไม่ได้มีนักเขียนประจำเหมือนวารสารประเภทอื่นๆ เราต้องรอบทความที่นักวิจัยจะส่งเข้ามา และต้องตรวจสอบ format ของการเขียนให้เป็นไปตามมาตรฐานของวารสาร ประเมินความเหมาะสมทางวิชาการขั้นตัน แล้ว
จึงส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านและให้ข้อเสนอแนะ จากนั้นจึงสรุปข้อเสนอแนะให้ผู้เขียนแก้ไข แล้วส่งกลับมาให้กองบรรณาธิการตรวจสบอีกครั้งหนึ่งเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนนำไปจัดรูปแบบสำหรับส่งโรพิมพ์ เฉพาะขั้นตอนการตรวจแก้ส่งไปส่งมา ก่อนการจัดรูปแบบเพื่อเข้าโรงพิมพ์ก็ใช้เวลาไปแล้วประมาณ ๖ สัปดาห์ สำหรับบทความที่มีการแก้ไขไม่มากมายนัก ดังนั้นเวลา ๔ เดือน จึงเป็นเวลาที่ไม่นาน เพราะบทความแต่ละฉบับที่ส่งมาขอตีพิมพ์ ไม่ได้เข้ามาพร้อมกัน ดังนั้นถ้านักวิจัยต้องการให้บทความของตนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับใด จึงควรวางแผนล่วงหน้าและส่งบทความมาถึงกองอย่างช้าที่สุดให้ก่อนกำหนดออกของวารสารประมาณ ๒ เดือน เช่นถ้าต้องการตีพิมพ์ฉบับเดือนมิถุนายน ก็ควรส่งเรื่องมาอย่างช้าที่สุดภายในเดือนเมษายน จึงจะแน่ใจได้ว่าเรื่องจะได้ตีพิมพ์เดือนมิถุนายน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับว่ามีบทความเรื่องอื่นๆ ยื่นมารอคิวก่อนหน้ามากน้อยเท่าใดด้วย เพราะในวารสารฉบับหนึ่งๆเราจะตีพิมพ์บทความประมาณ ๙-๑๑ เรื่อง เพื่อไม่ให้จำนวนหน้าเกินกำหนดไปมาก
สำหรับวารสารเกษตรฉบับที่ ๒๗(๒) มิถุนายน ๑ ๕๕๔ มีบทความในสาขาพืชสวน ๒ เรื่อง พืชไร ๒ เรื่องสัตวศาสตร์ ๒ เรื่อง ส่งเสริมการเกษตร ๓ เรื่อง กีฏวิทยา ๒ เรื่อง แต่ละเรื่อง รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๑ เรื่อง ซึ่งบทความทั้งหมดนี้ ได้นำเสนอในรูปแบบ E-journal ในเว็บไซท์ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นบริการเสริมอีกทางหนึ่งด้วย
พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ
เผยแพร่แล้ว: 2020-08-20