ผลของผงถ่านกัมมันต์และ 2,4-D ต่อการเกิดแคลลัสของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1

Main Article Content

สมดังใจ สายสิงห์ทอง
สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์
สุชาดา เวียรศิลป์

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของผงถ่านกัมมันต์และ 2,4-dichlorophenoxy acetic acid (2,4-D) ต่อการเพิ่มปริมาณแคลลัสของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 โดยวางแผนการทดลองเป็นแบบ factorial in completely randomized design (Factorial in CRD) ทำการเพาะเลี้ยงเมล็ดข้าวบนอาหารสูตร Linsmaier และ Skoog (LS) ดัดแปลงที่เติมผงถ่านกัมมันต์และ 2,4-D ในความเข้มข้นต่างๆ โดยความเข้มข้นผงถ่านกัมมันต์ ที่ใช้คือ 0, 0.05, 0.10, 0.15 และ 0.20 กรัมต่อลิตร และความเข้มข้นของ 2,4-D ที่ใช้คือ 0, 1, 2 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร รวม 20 สูตร แต่ละสูตรทำการศึกษา 3 ซ้ำ หลังจากทำการเพาะเลี้ยง 15 วัน พบว่าอาหารสูตร LS ดัดแปลงที่ใส่ผงถ่านกัมมันต์ 0.05 กรัมต่อลิตร และ 2,4-D 2-3 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้เกิดเอมบริโอเจนิกแคลลัส ชนิดไฟรเอเบิลและมีสีเหลือง นอกจากนั้นอาหารสูตรนี้ยังทำให้เกิดเอมบริโอเจนิกแคลลัสได้สูงถึง 51.33-60.67% และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 8.00-8.57 มิลลิเมตร โดยเอมบริโอเจนิกแคลลัสที่ได้นี้สามารถพัฒนาเป็นโซมาติกเอมบริโอหรือเอมบริออยด์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำนูณ กาณจนภูมิ. 2544. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 162 หน้า.

บุญยืน กิจวิจารณ์. 2544. เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น. 207 หน้า.ประศาสตร์ เกื้อมณี. 2536. เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 158 หน้า.รังสฤษฎ์ กาวีต๊ะ. 2540. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ: หลักการและเทคนิค. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.219 หน้า.

ศิวพงศ์ จำรัสพันธุ์. 2546. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏอุดรธานี. 187 หน้า.

สุริยันตร์ ฉะอุ่ม, ศรีสม สุรวัฒนานนท์, กมลพรรณ นามวงศ์พรหม และเฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ. 2540. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าวพันธุ์นางมลเอส-4. วารสารเกษตรศาสตร์ 31(2): 166-174.

อารีย์ วรัญญวัฒก์. 2541. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์อติสรรค์, กรุงเทพ. 133 หน้า.

Buffard-Morel, J., J.L. Verdeil, S. Dussert, C. Magnaval, C. Huet and F. Grosdemange. 1995. Initiation of somatic embryogenesis in coconut (Cocos nucifera L.). Laboratorie des Ressources Genetiques et Amelioration des Plantes Tropicales, France.

Kee-yoeup P. and H. Eun-joo. 1999. Cytokinins, auxins and activated charcoal affect organogenesis and anstomical characteristics of shoot-tip cultures of Lisianthus (Eustoma grandiflorum (RAF.) shinn). Department of Horticulture. Chungbuk National University, Cheongju, Chungbuk 361-763, South Korea.

Linsmaier, E.M. and F. Skoog. 1965. Organic growth factor requirements of tobacco tissue cultures. Physiology Plant 18: 100-127.

Islam, Md.M., A. Mahatalat and M. Debabrata. 2005. In vitro Induction and Plant Regeneration in Seed Explants of Rice (Oryza Sativa L.). Journal of Agriculture and Biological Sciences. 1(1): 72-75.

Pierik, R.L.M. 1987. In vitro Culture of Higher Plant. Martinus Nijhoff Publisher. Boston. 344 p. Vajrabhaya, M., T. Vajrabhaya, M. W. Nabors and S. Yoshida. 1984. New varieties of rice for saline and acid soil through tissue culture. Progress Report II: callus growth and, regeneration. Chulalongkorn University. Bangkok. p 41.

Zhang, S. 1995. Efficient plant regeneration from indica (group 1) rice protoplasts of one advanced breeding Line and three varieties. Plant Cell Reports. 15: 68-71.