การสังเกตพฤติกรรมการเติบโตของหัวว่านจูงนางชนิด Geodorum <I> recurvum </I>(Roxb.) Alston ในสภาพธรรมชาติและสภาพปลูกเลี้ยงเพื่องานขยายพันธุ์

Main Article Content

นฤมล โสตะ
โสระยา ร่วมรังษี
ฉันทนา สุวรรณธาดา

บทคัดย่อ

ว่านจูงนางชนิด Geodorum recurvum (Roxb.) Alston เป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง มีลำลูกกล้วยเป็นหัวอยู่ใต้ผิวดิน โครงสร้างของหัวของว่านจูงนางชนิดนี้เป็นแบบหัวเผือก หัวว่านจูงนางแตกต่างจากหัวของกล้วยไม้ดินทั่วไป เนื่องจากหัวเก่าซึ่งเกิดในปีก่อนๆมักจะผุสลายแต่สามารถพบติดกันอยู่และเรียงเป็นแถวในลักษณะเจริญด้านข้าง  การสังเกตพฤติกรรมการเติบโตของหัวของว่านจูงนางชนิดนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทราบข้อมูลของความเป็นไปได้ในการแยกหัวเก่าของต้นพืชไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า หัวเก่าซึ่งติดอยู่กับต้นพืชแต่ละต้นนั้นเกือบทุกหัวยังคงมีชีวิตอยู่  หัวเก่าที่เกิดขึ้นนานถึง 10 ปี  เมื่อนำมาแยกออกเป็นหัวเดี่ยว แล้วปลูกสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ หัวบางหัวที่ฝ่อไปก่อนแล้วเท่านั้นที่ไม่สามารถงอกได้ หัวแยกเดี่ยวเหล่านี้งอกหน่อออกมาได้ 1 หน่อหรือมากกว่า  แต่ละหน่อเจริญเติบโตเป็นต้นพืช 1 ต้นและสร้างหัวใหม่ขึ้นมาได้ ผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าหัวเก่าค้างปีของว่านจูงนางมีแนวโน้มใช้เป็นส่วนขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพืชได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุภัทร ประราศรี. 2549. การศึกษาลักษณะของกล้วยไม้ช้างผสมโขลงที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 86 หน้า.

จารุวรรณ สุขเกษม. 2550. การศึกษาลักษณะและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องน้ำต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 89 หน้า.

ฉันทนา สุวรรณธาดา. 2552. ศักยภาพของการใช้ประโยชน์กล้วยไม้ดินสกุลว่านจูงนาง. ในหน้า 12. การประชุมวิชาการ อพ.สธ. ทรัพยากรไทย : ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย, จังหวัดชลบุรี, 19-25 ตุลาคม 2552. หน้า 12.

ฉันทนา สุวรรณธาดา และ รณณรงค์ อินทุภูติ. 2550ก. กล้วยไม้ดินในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริในหน้า 355 358. การประชุมวิชาการ อพ.สธ. ทรัพยากรไทย : ประโยชน์แท้แก่มหาชน. ณ อาคารประชุมวิชาการ บริเวณพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยจังหวัดชลบุรี, 31 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2550.

ฉันทนา สุวรรณธาดา และ รณณรงค์ อินทุภูติ. 2550ข. ความหลากหลายของกล้วยไม้ดินสกุลว่านจูงนางในสภาพธรรมชาติ. ในหน้า 60-62. การประชุมวิชาการ อพ.สธ. ทรัพยากรไทย : ประโยชน์แท้แก่มหาชน. ณ อาคารประชุมวิชาการบริเวณพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะ และทะเลไทยจังหวัดชลบุรี, 31 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2550.

ฉันทนา สุวรรณธาดา อภิชาติ ชิดบุรี จามจุรี โสตถิกุล และ รณณรงค์ อินทุภูติ. 2548. การเพาะฝักอ่อนกล้วยไม้ป่าโดยวิธี ปลอดเชื้อ. ในหน้า 16. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา, ชลบุรี, 26-29 เมษายน 2548. หน้า 16.

บุญปิยธิดา คล่องแคล่ว. 2551. การศึกษาลักษณะของบานดึกและเอื้องดินลาว ที่รวบรวมจากป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 122 หน้า.

ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย แล ะฉันทนา สุวรรรณธาดา. 2551. การเพาะเลี้ยงฝักอ่อนของกล้วยไม้ป่าบางชนิดในอาหารเพาะเลี้ยงสูตร W ดัดแปลง. ว.วิทย์.กษ. 39(3) (พิเศษ) : 171-174.

วัชราภรณ์ ชนะเคน. 2550. ลักษณะและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินบางชนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 178 หน้า.

ศลิษา รุจิวณิชย์กุล. 2549. การศึกษาลักษณะกล้วยไม้ว่านจูงนางที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 119 หน้า.

สัจจพร จันทะวงษ์. 2545. ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการงอกและพัฒนาของกล้วยไม้ดิน Geodorum siamense Rolfe ex Downie bla: Habenaria dentata (Sw.) Schltr. ในสภาพปลอดเชื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 84 หน้า.

อบฉันท์ ไทยทอง. 2551. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ, 461 หน้า.

อมรรัตน์ ทองแสน. 2551. การศึกษาลักษณะและการผสมพันธุ์ว่านจูงนางที่รวบรวมจากป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 174 หน้า.

Bhadra, S.K. and M.M. Hossain. 2003. In vitro germination and micropropagation of Geodorum densiflorum (Lam.) Schltr., an endangered orchid species. Plant Tissue Cult. 13(2): 165-171.

Roy, J. and N. Banerjee. 2002. Rhizome and shoot development during in vitro propagation of Geodorum densiflorum (Lam.) Schltr. Scientia Hort. 94(1-2): 181-192.

Sheelavantmath, S.S., H.N. Murthy, A.N. Pyati, H.G.A. Kumar and B.V. Ravishankar. 2000. In vitro propagation of the endangered orchid, Geodorum densitflorum (Lam.) Schltr. through rhizome section culture. Plant Cell, Tissue and Organ Cult. 60(2): 151-154.