สถานะธาตุอาหารพืชในสวนทุเรียนและลองกองในระบบวนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการประเมินสถานะของธาตุอาหารพืชของดินในสวนทุเรียนและลองกองของเกษตรกรพื้นที่ อ.ลับแล และ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นสวนในระบบวนเกษตร ใช้การศึกษาสมบัติของดินเก็บตัวอย่างดินจากสวนทุเรียนจำนวน 37 พื้นที่ และสวนลองกอง จำนวน 28 พื้นที่ ในช่วงเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นระยะพัฒนาช่อดอกของลองกอง และระยะสุดท้ายของการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนตามลำดับ นอกจากนี้ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการดินจากการสัมภาษณ์เกษตรกร วิเคราะห์สมบัติดิน ได้แก่ pH ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และกำมะถันที่สกัดได้ ผลการศึกษาผลผลิตทุเรียนผันแปรตามขนาดรัศมีของทรงพุ่ม คือ ทรงพุ่มขนาด 2 3 และ 4 เมตร ให้ผลผลิต 30-70 50-90 และ 90-120 กิโลกรัม/ต้น ส่วนลองกองซึ่งมีรัศมีทรงพุ่ม 2 และ 3 เมตรให้ผลผลิต 70-80 และ 100-200 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ เกษตรกรใน อ.ลับแล ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีและปูน ส่วนเกษตรกรใน อ.เมือง ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ pH ของดินในสวนทุเรียนและลองกอง ใน อ.ลับแล อยู่ในช่วง 4.2-7.2 ซึ่งเป็นช่วง pH ที่กว้างกว่าดินในสวนไม้ผลของ อ.เมือง (pH 5.0-6.2) ดินในพื้นที่ที่ศึกษาทั้งสองพื้นที่ มีโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ อยู่ในช่วงที่เหมาะสมและสูงกว่าช่วงที่เหมาะสม ในพื้นที่ปลูกทุเรียนของ อ.ลับแล ซึ่งมีอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ำ มีประมาณร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่ปลูกทุเรียนของ อ.เมือง ส่วนใหญ่ (67%) มีอินทรียวัตถุอยู่ในช่วงที่เหมาะสม และสูงกว่าช่วงที่เหมาะสม สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ดินส่วนใหญ่จากสวนไม้ผลทั้งสองชนิดและทั้งสองพื้นที่มีอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงที่เหมาะสม ปริมาณของกำมะถันที่สกัดได้ในดินของทุกพื้นที่มีต่ำกว่าช่วงที่เหมาะสม และพบสหสัมพันธ์ในเชิงบวกมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกำมะถันที่สกัดได้กับอินทรียวัตถุในดินของสวนทุเรียนและลองกองใน อ.ลับแล
Article Details
References
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. ภาควิชาปฐพีวิทยาคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 547 หน้า.
จำเป็น อ่อนทองสุรชาติ เพชรแก้ว สายใจ กิ้มสงวน และ ณรงค์ มะลี. 2549. ผลการใช้ปูนขาว ยิปซัมและโพแทสเซียมคลอไรด์ต่อการเจริญเติบโตและการดูดธาตุอาหารของต้นกล้าลองกอง (Aglaia dookkoo. Griff.). วารสารสงขลานครินทร์ วทท. 22(1): 21-26.
ชูชาติ สันธทรัพย์. 2552. การจัดการดินและปุ๋ยสำหรับการปลูกกล้วยไข่. หน้า 69-78. ใน: จริยา วิสิทธิ์พานิช (บก.). คู่มือการผลิตกล้วยไข่คุณภาพ. นพบุรีการพิมพ์. เชียงใหม่.
ปัทมา วิตยากร. 2547. ความอุดมสมบูรณ์ของดินขั้นสูง พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุง). ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 423 หน้า.
พจนีย์ แสงมณี. 2552. การหมุนเวียนไนโตรเจนในระบบการใช้ที่ดินที่แตกต่างกัน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 27(3): 98-105.
ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2545. การแก้ไขปัญหาต้นโทรมของลำไย. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับธาตุอาหารในดินและต้นลำไยกับการแสดงอาการต้นโทรม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). ลำปาง. 146 หน้า.
ราชัน สุขวัฒนวิจิตร. 2545. ความเข้มข้นของธาตุอาหารและคาร์โบไฮเดรตในใบลองกองต้นที่ให้ผลผลิตและไม่ให้ผลผลิต. ปัญหาพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 75 หน้า.
สุมิตรา ภู่วโรดม นุกูล ถวิลถึง สมพิศ ไม้เรียง พิมล เกษสยม และจิรพงษ์ ประสิทธิเขตร. 2544. ความต้องการธาตุอาหารและการแนะนำปุ๋ยในใบทุเรียน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ. 196 หน้า.
สุรชาติ เพชรแก้ว จำเป็น อ่อนทอง มนูญ แซ่อ๋อง และณรงค์ มะลี. 2550. สมบัติบางประการของดินปลูก ลองกองในจังหวัดสงขลาและนราธิวาสและการจัดการ. วารสารสงขลานครินทร์ วทท. 29(3): 669-683.
สถานีพัฒนาที่ดินอุตรดิตถ์. 2552. การจัดทำเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยขุนฝาง (ลุ่มน้ำย่อย : แม่น้ำน่านส่วนที่ 4 ลุ่มน้ำหลัก: ลุ่มน้ำน่าน ต.ขุนฝาง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ประจำปีงบประมาณ 2552). สถานีพัฒนาที่ดินอุตรดิตถ์ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 251 หน้า.
อเนก ดีพรมกุล. 2550. การเปรียบเทียบภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างการทำสวนวนเกษตรกับสวนไม้ผลเชิงเดี่ยว: กรณีศึกษาสวนลองกองในบ้านขุนห้วย ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 188 หน้า.
Chin, S.T., S.A.H. Nazimah, S.Y. Quek., Y.B. Che Man, R. Abdul Rahman and D. Mat Hashim. 2007 Analysis of volatile compounds from Malaysian durians (Durio zibethinus) using headspace SPME coupled to fast GC-MS. Journal of Composition and Analysis 20: 31-44.
Gregorich, E.G., M.R. Carter, J.W. Doran, C.E. Pankhurstand and L.M. Dwyer. 1997. Biological attributes of soil quality: pp. 81-104. In: Gregorich, E.G. and M.R. Carter (eds.). Soil Quality for Crop Production and Ecosystem Health. Amsterdam, Elsevier.
Janzen, H.H., C.A. Campbell, B.H. Ellent and E. Bremer. 1997. Soil organic matter dynamics. pp. 277-292. In: Gregorich, E.G. and M.R. Carter (eds.). Soil Quality for Crop Production and Ecosystem Health. Amsterdam, Elsevier.
Poovarodom, S., N, Tawinteung, S. Maireing, P. Kesayom and J. Prasittikhet. 2001. Plant analysis as a means of diagnosting nutritional status and fertilizer recommendations for durian. Final report submitted to Thailand Research Fund (TRF.). Bangkok. 196 p. (in Thai).
Santasup, C. 2009. Soil and fertilizer managements for Kluai Khai cultivation. pp. 69-78. In: Visitpanich, J. (eds.). Handbook of Quality Kluai Khai Production. Nopburee Press. Chaing Mai. (in Thai).
Therajindakajorn, P. 2009. Handbook of Soil Chemical Analysis. Department of Plant Science and Agricultural Resources. Faculty of Agriculture. Khon Kaen University. 169 p. (in Thai).