ชีววิทยาของมอดฟันเลื่อยและประสิทธิภาพของโอโซนในการกำจัดมอดฟันเลื่อยในข้าวสาร

Main Article Content

ศิวกร เกียรติมณีรัตน์
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
จิราพร กุลสาริน

บทคัดย่อ

การศึกษาชีววิทยาของมอดฟันเลื่อยที่เลี้ยงด้วยข้าวสารปทุมธานี 1 ในจานหลุม 96 หลุม (96-well plate) ที่อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 เปอร์เซ็นต์ มีระยะเวลาในการฟักไข่ หนอนวัย 1, 2, 3 และ 4 ใช้เวลา 2.72±1.60, 2.42±0.97, 2.70±0.65, 2.74±0.90 และ 3.31±0.80 วันตามลำดับ มีอัตราการพักตัวก่อนเข้าดักแด้ และดักแด้ 1.10±0.30 และ 5.92±0.67 วัน ตามลำดับ วงจรชีวิตทั้งหมดตั้งแต่ระยะไข่ ถึงตัวเต็มวัยอยู่ที่ 19.81±1.65 วัน การศึกษาความสามารถในการวางไข่ของมอดฟันเลื่อยพบว่ามอดฟันเลื่อยชอบที่วางไข่ในข้าวบาร์เลย์มากที่สุดไม่แตกต่างจากข้าวบาร์เลย์ผสมยีสต์ 5 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ ข้าวสารปทุมธานี 1, ข้าวก่ำ 88061, ข้าวก่ำดอยสะเก็ด และข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 มอดฟันเลื่อยสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในข้าวบาร์เลย์ และข้าวบาร์เลย์ผสมยี สต์5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ การศึกษาประสิทธิภาพของโอโซนในการกำจัดมอดฟันเลื่อยพบว่า ในระยะดักแด้ของมอดฟันเลื่อยเป็นระยะที่ทนทานที่สุดเมื่อผ่านก๊าซโอโซนอัตรา 60 ppm เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตาย 60.83±3.19 เปอร์เซ็นต์ การหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้กำจัดระยะดักแด้ของมอดฟันเลื่อยเมื่อผ่านก๊าซโอโซนโดยตรงพบว่า เมื่อนำดักแด้ไปผ่านก๊าซโอโซนโดยตรงเป็นเวลา 6 ชั่วโมงพบอัตราการตาย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อนำดักแด้จำนวน 30 ตัวใส่ในข้าวสารขาวดอกมะลิ 105 น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ไปรมด้วยก๊าซโอโซนที่เวลา 0.5, 1, 2, 3, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18 และ 20 ชั่วโมง พบว่าดักแด้ของมอดฟันเลื่อยมีการตายอย่างสมบูรณ์ที่ 20 ชั่วโมง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรทิพย์ วิสารทานนท์ กุสุมา นวลวัฒน์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม จิราภรณ์ ทองพันธ์ ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ ลักขณา ร่มเย็น และภาวินี หนูชนะภัย. 2548. แมลงที่ พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ. สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 150 หน้า.
สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. สถิติการส่งออก (Export)--ข้าวรวม: ปริมาณและมูลค่าส่งออกรายเดือน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/oae_report/export_imp ort/export_result.php (4 เมษายน 2554).
Al-Ahmadi, S. S., R. A. Ibrahim and S. A. Ouf. 2009. Possible control of fungal and insect infestation of date fruits using Ozone. [Online]. Available: http://www.biotech asia.org/display.asp?id=512 (December 17, 2009).
Armstrong, J. W., P. Follett, S. A. Brown, JG. Leesch, J. S. Tebbets, J. Smilanick, D. Streett, M. Portillo, T. H. McHugh, C. W. Olsen, L. Whitehand, C. Cavaletto, N. Nagai, H. C. S. Bittenbender, A. E. Bustillo, J. E. Peña and L. Mu. 2008. Ozone fumigation to control quarantine pests in green coffee Proceedings of the Annual International Research Conference on Methyl Bromide Alternatives and Emissions Reductions November 11,2008. Orlando, FL.
Erdman, H. E. 1979. Ecological aspects of control of a stored product insect by ozonation. p. 75 In: Proceedings of the Second International Working Conference on Stored-Product Entomology. 10-16 September, Ibadan, Nigeria.
Haines, C. P. (ed.). 1991. Insects and Arachnids of Tropical Stored Products: Their Biology and Identification- A Training Manual. 2nd ed. Natural Resources Resources Institute,Chatham. 246 p.
Hollingsworth, R.G. and J.W. Armstrong. 2005. Potential of temperature, controlled atmospheres, and ozone fumigation to control thrips and mealybugs on ornamental plants for export. Journal of Economic Entomology 98(2): 289-298.
Kells, S. A., L. J. Mason, D. E. Maier and C. P. Woloshuk. 2001. Efficacy and fumigation characteristics of ozone in stored maize. Journal of Stored Products Research 37(4): 371-382.
Leonard, L.G., McCray and L. Thelma. 1973. Multiplication of Oryzaephilus spp. and Tribolium spp. on 20 natural product diets. Environmental Entomology 2(2): 176-179.
Mason, L.J. 2003. Sawtoothed grain beetle Oryzaephilus surinamensis (L.). Grain Insect Fact Sheet, E-228-w. Department of Entomology, Purdue University.
Mason, L.J., C.P. Woloshuk and D.E. Maier. 1997. Efficacy of ozone to control insects, molds and mycotoxins,pp. 665-670. In: E.J. Donahaye, S. Navarro. and A. Varnava (eds.). Proceedings of the International Conference on Controlled Atmosphere and Fumigation in Stored Products. Cyprus Printer Ltd., Nicosia.
Schmolz, E. and I. Lamprecht. 2000. Calorimetric investigations on activity states and development of holometabolous insects. Thermochimica Acta 349: 61-68.
Sinha, R. N. 1971. Multiplication of some stored-product insects on varieties of wheat, oats, and barley.Journal of Economic Entomology 64(1): 98-102.
Yoshida, T. 1974. Lethal effect of ozone gas on the adults of Sitophilus oryzae and Oryzaephilus surinamensis. Scient. Rep. Fac. Agric. Okayama University 45: 9-15.