ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดและการใช้ร่วมกับดินเบาในการกำจัดมอดแป้งจากโรงเก็บข้าวโพด

Main Article Content

เนตรนภา ศรีสองสม
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
ไสว บูรณพานิชพันธุ์

บทคัดย่อ

การทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลง  malathion, pirimiphos-methyl, permethrin และ deltamethrin ในการกำจัดมอดแป้ง Tribolium castaneum (Herbst) ที่รวบรวมจากโรงเก็บข้าวโพดในจังหวัดเชียงราย พะเยา และเพชรบูรณ์ พบว่า สารฆ่าแมลง pirimiphos-methyl มีประสิทธิภาพในการกำจัดตัวเต็มวัยมอดแป้งมากที่สุด โดยความเข้มข้นในอัตราที่แนะนำให้ใช้สามารถฆ่ามอดแป้งจากจังหวัดเชียงราย พะเยา และเพชรบูรณ์ ได้สูงสุดคือ 67.0, 85.0 และ 77.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพรองลงมาตามลำดับคือ deltamethrin, permethrin และ malathion  นอกจากนี้ ยังพบว่า มอดแป้งจากจังหวัดเชียงรายและพะเยา แสดงแนวโน้มต้านทานต่อสารฆ่าแมลง permethrin และ malathion อีกด้วย  และเมื่อใช้ดินเบาจากจังหวัดลำปาง และดินเบาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จำหน่ายเป็นการค้าคือ Perma-Guard® ผสมกับสารฆ่าแมลง แต่ละชนิดที่มอดแป้งมีแนวโน้มต้านทาน นำมาทดสอบประสิทธิภาพกับมอดแป้งจากจังหวัดเชียงรายและพะเยา  พบว่า การใช้ permethrin, permethrin+ดินเบา (ลำปาง) และ permethrin+ดินเบา (สหรัฐอเมริกา) กับมอดแป้งจากจังหวัดเชียงราย มีค่า LC50 เท่ากับ 15,845, 4,151 และ 2,404 ppm ตามลำดับ ส่วนที่ทดสอบกับมอดแป้งจากจังหวัดพะเยา มีค่า LC50 เท่ากับ 3,181, 2,590 และ 1,709 ppm ตามลำดับ สำหรับการใช้ malathion, malathion+ดินเบา (ลำปาง) และ malathion+ดินเบา (สหรัฐอเมริกา) กับมอดแป้งจากจังหวัดเชียงราย พบว่า มีค่า LC50 เท่ากับ 5,755, 4,565 และ 4,507 ppm ตามลำดับ ส่วนที่ทดสอบกับมอดแป้งจากจังหวัดพะเยา มีค่า LC50 เท่ากับ 6,186, 5,456 และ 5,294 ppm ตามลำดับ  จากการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ค่า LC50 ของสารฆ่าแมลงที่ใช้ร่วมกับดินเบามีค่าลดลง หมายความว่าการใช้ดินเบาร่วมกับสารฆ่าแมลงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดมอดแป้งได้ โดยดินเบาจากสหรัฐอเมริกาช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าดินเบาจากจังหวัดลำปาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา นวลวัฒน์ พรทิพย์ วิสารทานนท์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และจิราภรณ์ ทองพันธ์. 2548. แมลงศัตรูข้าวเปลือกและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและ แปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 80 หน้า.

ชุมพล กันทะ. 2533. หลักการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูโรงเก็บ. ขอนแก่นการพิมพ์, ขอนแก่น. 249 หน้า.

ธัญรัศม์ เลิศโฆษิตพงศ์. 2553. การสังเคราะห์วัสดุจีโอพอลิเมอร์จากดินไดอะตอมลำปาง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 123 หน้า.

พรทิพย์ วิสารทานนท์ กุสุมา นวลวัฒน์ บุษรา จันทร์ แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม จิราภรณ์ ทองพันธ์ ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ ลักขณา ร่มเย็น และภาวินี หนูชนะภัย. 2548. แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด.เอกสารวิชาการ. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 150 หน้า.

สุภาณี พิมพ์สมาน. 2540. สารฆ่าแมลง. ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 58 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2553. ข้อมูลผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2552. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/statistic/yearbook54/crops/03_%20maize.xls (5 มีนาคม 2554).

สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 3. 2550. รายงานผลการทดสอบดินเบา. สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 3, เชียงใหม่.

อภิรักษ์ ชัยเสนา เมษายน แก้วทุ่น และ ปัญญา พลรักษ์. 2549. การเตรียมโซเดียมซิลิเกตจากดินเบาแหล่งลำปาง. สาขาวิชาเคมีประยุกต์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ลำปาง.

Abbott, W.S. 1925. A method of computing the effectiveness of an insecticide. J. Econ. Entomol.18: 265-267.

Bell, A., O. Mück, P. Mutla and H. Schneider. 1999. Integrated Post-Harvest Protection is Worth Its Money. GTZ, Eschborn. 36 p.

Chanbang, Y. 2005. Evaluation of diatomaceous earth and methoprene and varietal resistance to control Rhyzopertha dominica (F.), the lesser grain borer in stored rice. Ph.D. Dissertation Department of Entomology, University of Kansas, Kansas, U.S.A.

Chintzoglou, G., C. G. Athanassiou and F. H. Arthur. 2008. Insecticidal effect of spinosad dust in combination with diatomaceous earth against two-stored grain beetle species. J. Stored Prod. Res. 44(4): 347-353.

Fields, P. and Z. Korunic. 2000. The effect of grain moisture content and temperature on the efficacy of diatomaceous earth from different geographical locations against stored-product beetles. J. Stored Prod. Res. 36(1): 1-13.

Kljajic, P., G. Andric and I. Peric. 2006. Effect of several contract insecticides on adults of three Sitophilus species. pp. 338-343 In: Proceedings of Ninth International Working Conference of Stored Product Protection. Sao Paulo, Brazil.

Korunic, Z. 1998. Diatomaceous earth, a group of natural insecticides. J. Stored Prod. Res. 34(2-3): 87-97.

Korunic, Z. and V. Rozman. 2010. A synergistic mixture of diatomaceous earth and deltamethrin to control stored grain insects. pp. 894-898. In: Proceedings of the Tenth International Working Conference of Stored Product Protection. Estoril, Portugal.

Mewis, l. and C. Ulrichs. 2001. Action of amorphous diatomaceous earth against different: stages of the stored product pests Tribolium confusum, Tenebrio molitor, Sitophilus granarius and Plodia interpunctella. J. Stored Prod. Res. 37(2): 153-164.

Subramanyam, Bh. and D. W. Hagstrum. 1985. Integrated management of insects in stored products. Marcel Dekker Publishing, Inc., New York, U.S.A. 426 p.

Subramanyam, Bh. and R. Roesli. 2000. Inert dusts. pp. 321-380. In: Bh. Subramanyam and D. W. Hagstrum (eds.). Alternative to Pesticides in Stored-Product IPM. Kluwer Academic Publishers, Norwell, MA.

Ware, G. W. 1989. The Pesticide Book. Thomson Publications, Fresno, California. 336 p.