ผลของการเสริมจุลินทรีย์อีเอ็มหรือจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในอาหารสุกรต่อสมรรถภาพการผลิต การใช้ประโยชน์ได้ ของโภชนะ รวมทั้งปริมาณและคุณสมบัติของสิ่งขับถ่าย

Main Article Content

สุริยะ สะวานนท์

บทคัดย่อ

ผลของการเสริมจุลินทรีย์อีเอ็ม หรือจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก ในอาหารสุกรเล็ก รุ่น และขุน ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และสิ่งขับถ่าย ได้ทำการศึกษาโดยใช้สุกรลูกผสมพันธุ์ลาร์จไวท์ x แลนด์เรจ จำนวน 12 ตัว เริ่มเลี้ยงตั้งแต่สุกรมีน้ำหนักตัว 30 ถึง 100 กิโลกรัม โดยสุ่มแบ่งสุกรออกเป็น 3 กลุ่ม ให้ได้รับอาหารดังนี้ กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม (2%) และกลุ่มที่ 3 อาหารปกติเสริมด้วยจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (1%) จากผลการทดลองพบว่าการเสริมจุลินทรีย์อีเอ็ม หรือจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติกในอาหารสุกรไม่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิต การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ คุณภาพซาก ตลอดจนปริมาณและคุณภาพของสิ่งขับถ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตามการเสริมจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์อีเอ็มมีแนวโน้มทำให้อัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของสุกรดีกว่ากลุ่มควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทรูโอะ ฮิงะ. 2542. EM คืออะไร. ศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซ. ธีระสารการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 63 หน้า.

สมชัย จันทร์สว่าง, นวลจันทร์ พารักษา และวาณี ชัยวัฒนสิน. 2539. การเสริมจุลินทรีย์อีเอ็มในน้ำดื่มและอาหารสำหรับลูกสุกรหย่านม 1. ผลต่อสมรรถภาพการผลิตของลูกสุกร 2. ผลต่อการย่อยได้. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ (ฉบับพิเศษ) 30(4): 187-194.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, สุมาลี พฤกษากร, พิเชษฐ แสงศรีจันทร์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2546. ผลการเสริมแลคโตแบซิลลัสเพื่อทดแทนปฏิชีวนะในลูกสุกรน้ำหนัก 7-36 กิโลกรัม. หน้า 339-346. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41 สาขาสัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุริยะ สะวานนท์, สมชัย จันทร์สว่าง และสมโภชน์ ทับเจริญ. 2541. ศึกษาการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มและสมุนไพรหมูทองลดกลิ่นในมูลสุกร. หน้า 56. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36 สาขาสัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อังคณา หาญบรรจง และดวงสมร สินเจิมสิริ. 2532. การวิเคราะห์และประเมินคุณภาพอาหารสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 155 หน้า.

Chee-Sanford, J.C., R.I. Aminov, I.J. Krapac, N. Garrigues-Jeanjean and R.I. Mackie. 2001. Occurrence and diversity of tetracycline resistance genes in lagoons and groundwater underlying two swine production facilities. Appl. Environ. Microbiol. 67(4): 1494-1502.

Gilliland, S.E., M.L. Speck and C.G. Morgan. 1975. Detection of Lactobacillus acidophilus in feces of humans, pigs and chickens. Appl. Microbiol. 30(4): 541-545.

National Research Council (NRC). 1994. Nutrient Requirements of Swine. 9th ed., National Research Press, Washington, D.C. 155 pp.

Pollmann, D.S. 1986. Probiotics in pig diets. pp. 193-205. In: W. Haresign and D.J.A. Cole (eds.). Recent Advances in Animal Nutrition. Butterworths, London.

Statistical Analysis Software (SAS) 1989. SAS/STAT User’s Guide: Statistics. Version 6.12 Edition. SAS Institute, Inc., Cary, NC.

van den Bogaard, A.E., and E.E. Stobberingh. 1999. Antibiotic usage in animals: Impact on bacterial resistance and public health. Drugs 58(4): 589-607.