การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะดอกของกล้วยไม้สกุลช้าง

Main Article Content

สุพัตรา เจริญภักดี
วีณัน บัณฑิตย์

บทคัดย่อ

การนำเทคนิคอาร์เอพีดีมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะสีดอกของกล้วยไม้สกุลช้าง 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเขาแกะ (Rhynchostylis  coelestis Rchb.f.) ได้แก่ เขาแกะเผือก และเขาแกะธรรมดา 2) กลุ่มช้าง (Rhynchostylis  gigantea Ridl.) ได้แก่ ช้างแดง ช้างเผือก ช้างกระ  และช้างประหลาด  เมื่อนำดีเอ็นเอไปเพิ่มปริมาณ โดยใช้ไพรเมอร์ 24 ชนิด พบว่า ไพรเมอร์ที่สามารถนำมาจัดกลุ่มแสดงความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของ  กลุ่มเขาแกะได้ คือ ไพรเมอร์ OPAK01, OPAK11, OPD16, OPF10, OPF12 และ OPF16 ส่วนกลุ่มช้าง คือ ไพรเมอร์ OPAK10, OPD05, OPD10 , OPF07 และ OPF10  เทคนิคอาร์เอพีดีนี้มีศักยภาพในการบ่งชี้ความแตกต่างทางพันธุ กรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะสีดอกของกล้วยไม้สกุลช้างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มเกษตรสัญจร. 2541. กล้วยไม้. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนัก พิมพ์ฐานเกษตรกรรม, นนทบุรี. 62 หน้า.

ชวลิต ดาบแก้ว. 2542. การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สำหรับผู้แรกเริ่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 75 หน้า.

ณัฐา ควรประเสริฐ. 2545. กล้วยไม้วิทยา 1. เอกสารประกอบการสอน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 76 หน้า.

ไพบูลย์ ไพรีพ่ายฤทธิ์. 2521. ตำรากล้วยไม้สำหรับผู้เริ่มเล่น .ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล อาทรการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 112 หน้า.

อานนท์ เชยจำรูญ. 2547. คู่มือการเพาะขยายพันธุ์ กล้วยไม้ตัดดอกเพื่อการส่งออก. นิตยสารยิ้มเศรษฐกิจ. นานาสาส์น, นนทบุรี. 96 หน้า.

Doyle, L.J. and J.J. Doyle. 1990. Isolation of plant DNA from fresh tissue. Focus 12: 13-14.

Yu, L.X. and H.T. Nguyen. 1994. Genetic variation detected with RAPD markers among upland and lowland rice cultivars (Oryza sativa L.). Theoretical and Applied Genetics 87: 668-672.