ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ที่แยกได้จากเมล็ดกะหล่ำปลีในการควบคุมโรคใบจุดของต้นกล้ากะหล่ำปลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการตรวจหาชนิดของเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดกะหล่ำปลี 3 พันธุ์ ด้วยวิธีเพาะบนอาหารวุ้น PDA พบเชื้อรา 16 ไอโซเลท นำเชื้อราทุกไอโซเลทที่แยกได้ไปทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Alternaria brassicicola สาเหตุโรคใบจุดของกะหล่ำปลี โดยวิธี Dual culture พบว่าเชื้อรา Trichoderma harzianum, T. viride และ Chaetomium globosum ให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งดีกว่าเชื้อราชนิดอื่นๆ ตามลำดับ เมื่อนำเชื้อรา 7 ชนิดที่คัดเลือกแล้วไปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา A. brassicicola บนเมล็ดกะหล่ำปลี พบว่า T. harzianum และ T. viride ช่วยลดเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อของเมล็ดและเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด ความงอกโผล่พ้นดิน ต้นกล้าปกติ ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของต้นกล้าได้ดีไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
เกษม สร้อยทอง. 2533. ประสิทธิภาพของรา Chaetomium cochliodes และ Chaetomium cuniculorum ใช้ในการป้องกันโรคไหม้ของข้าว (Rice Blast) ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae. แก่นเกษตร 18(2): 89-96.
นลินี จาริกภากร, พาณี หนูนิ่ม, บุญมี วาริรสอาด และ มนูญ เอกชัย. 2535. การควบคุมโรคข้าวโดยวิธีคลุกเมล็ดด้วย Bacillus subtilis. วารสารวิชาการเกษตร 10: 85-89.
สกุลศักดิ์ โอฬารสกุล. 2540. โรคของพืชประเภทผักและการควบคุม. ภาควิชาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร สถาบันราชภัฎลำปาง, ลำปาง, 542 หน้า.
สมพร แสนมณี. 2541. การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดในการควบคุมโรคใบจุดออลเทอนาเรียของกะหล่ำปลี. ปัญหาพิเศษหลักสูตรปริญญาตรี ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย-เชียงใหม่, เชียงใหม่. 49 หน้า.
อรพรรณ วิเศษสังข์ และ จุมพล สาระนาค. 2531. โรคใบจุดของพืชตระกูลกะหล่ำและการป้องกันกำจัด. วารสารโรคพืช 8(3-4): 131-136.
Alagarsamy, G. and K. Sivaprakasam. 1988. Effect of antagonists in combination with carbendazim against Macrophomina phaseolina infection in cowpea. J. Biol. Control 2(2): 123-125.
Baker, R. 1988. Trichoderma spp. as plant-growth stimulations. Crit. Rev. Biotechnol. 7: 97 - 106.
Baker, K.F. and R.S. Cook. 1974. Biological Control of Plant Pathogens. W.H. Freeman Co., San Francisco. 433 pp.
Chang, I. and T. Kommendahl. 1968. Biological control of seedling blight of corn by coating kernels with antagonistic microorganisms. Phytopathology 58: 1395-1401.
Cook. R.J. and K.F. Baker. 1983. The Nature and Practice of Biological Control of Plant Pathogens. American Phytopathological Society. St. Paul, Minnesota. 539 pp.
Dixon, G.R. 1981. Vegetable Crop Disease. School of Agriculture, Aberdeen. 400 pp.
Farzana, A., A. Ghaffer and F. Ali. 1991. Effect of seed treatment with biological antagonists on rhizosphere mycoflora and root infecting fungi of soybean. Pakistan J. Botany 23(2): 183–188.
Hussain, S., A. Ghaffer and M. Aslam. 1990. Biological control of Macrophomina phaseolina charcoal rot of sunflower and mungbean. J. Phytopathology 130: 117-160.
Mannandher, J.B., P. N. Thapliyal, K.L. Cavanaugh and J.B. Sinclair. 1987. Interaction between pathogenic and saprophytic fungi isolated from soybean roots and seeds. Mycopathologia 98: 69-75.
ISTA. 1999. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Annexes 1976. Seed Science and Technology 4: 3–49.
Yeh, C.C. and J.B. Sinclair. 1980. Effects of Chaetomium cupreum on seed germination and antagonism to other seed-borne fungi of soybean. Plant Disease 64: 468–470.