ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชในการควบคุม โรคใบจุดของต้นกล้ากะหล่ำปลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ตรวจหาเชื้อรา Alternaria brassicicola สาเหตุโรคใบจุดกะหล่ำปลี จากเมล็ดพันธุ์กะหล่ำปลี 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ No.1, New Jersey และ Ruby Perfection โดยวิธีการเพาะบนกระดาษชื้น พบเชื้อรา A. brassicicola ในพันธุ์ New Jersey มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ โดยพบติดมากับเมล็ด 15.50% ผลจากการทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืช 11 ชนิด ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา A. brassicicola บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ผสมน้ำมัน หอมระเหย พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น เปปเปอร์มิ้นต์ และการบูรที่ความเข้มข้น 1,000 - 2,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อราสาเหตุได้ 100% สำหรับผลการทดสอบประสิทธิภาพของ น้ำมันหอมระเหยต่อความงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นกล้า พบว่าน้ำมันตะไคร้หอมและตะไคร้ต้นช่วยลดการติดเชื้อของเมล็ด เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด ความงอกโผล่พ้นดิน ต้นกล้าปกติ ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของต้นกล้า
Article Details
References
เกษม สร้อยทอง. 2532. การใช้ Chaetomium cupream ในการควบคุมโรคใบไหม้ของข้าวโพดของข้าวโดยชีววิธี. วารสารโรคพืช 9(1): 28 – 33.
สกุลศักดิ์ โอฬารสกุล. 2540. โรคของพืชประเภทผักและการควบคุม. ภาควิชาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร สถาบันราชภัฎลำปาง,ลำปาง. 542 หน้า.
สมบัติ ศรีชูวงศ์ และ อนงค์นาถ แต่เชื้อสาย. 2547. การคัดเลือกเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดผักตระกูลกะหล่ำเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมเชื้อรา Alternaria brassicicola สาเหตุโรคที่แพร่โดยทางเมล็ดพันธุ์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการที่ 3060–3360. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่.
Adegoke, G.O. and B.A. Odesola. 1996. Storage of maize and cowpea and inhibition of microbial agents of biodeterioration using the powder and essential oil of lemongrass (Cymbogon citratus). International Biodeterioration and Biodegradation 37: 81 – 84.
Agarwal V.K. and J.B. Sinclair. 1996. Principles of Seed Pathology. 2ed. CRC Press, Inc., Boca Raton, Florida. 539 pp.
Basilico, M.Z. and J.C. Basilico. 1999. Inhibitory effects of some spice essential oils on Aspergillus ochraceus NRRL 3174 growth and ochratoxin A production. Letters in Applied Microbiology 29(4): 238 – 241.
Bullerman, L.B., F.Y. Lieu and S.A. Seier. 1997. Inhibition of growth and aflatoxin production by cinnamon and clove oils: cinnamic aldehyde and eugenol. Journal of Food Science 42: 1107 – 1109.
Chatterjee, D. 1990. Inhibition of fungal growth and infection in maize grains by spice oils. Letters in Applied Microbiology 11: 148 – 151.
Dorman, H.J.D. and S.G. Deans. 2000. Antimicrobial agents from plants: antibacterial activity of plant volatile oils. Journal of Applied Microbiology 88: 308 – 316.
ISTA. 1999. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Annexes 1976. Seed Science and Technology 4: 3-49.
Kritzinger, Q., T.A.S. Aveling and W.F.O. Marasas. 2002. Effect of essential oils on storage fungi, germination and emergence of cowpea seeds. Seed Science and Technology 30: 334–336.
Paster, N.M., U.R. Kenasherov and B. Juven. 1995. Antifungal oil applied as fumigants against fungi attacking stored grain. Journal of Food Protection 58(1): 81–85.
Sharma, A., G.M. Lewari, A.J. Shrikhande, S.R. Padwal–Deswal and C. Bandyopadhyay. 1979. Inhibition of aflatoxin – producing fungi by onion extracts. Journal of Food Science 44: 1545–1547.