การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซุปผักบรรจุกระป๋อง

Main Article Content

จริญญา พันธุรักษา
นิรมล อุตมอ่าง
พวงทอง ใจสันติ์
จิตรา กลิ่นหอม
ปิยะวรรณ สิมะไพศาล
โปรดปราน ทาเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ประโยชน์จากผักหลากหลายชนิดในรูปของผลิตภัณฑ์ซุปผักบรรจุกระป๋องให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยเริ่มทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคจำนวน  200 คน  ผู้บริโภคต้องการซุปประเภทน้ำใสถึงขุ่นเล็กน้อย โดยชนิดของผักที่ต้องการคือเห็ดหอม  แครอท  ข้าวโพดหวานและฟักทอง  คิดเป็นร้อยละ  76.4, 56.4, 43.6, และ 35.0 ตามลำดับ  ซึ่งต้องการให้ใส่เนื้อไก่มากที่สุด ร้อยละ  60.9 จากข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคจึงนำมาทดลองพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ซุปผัก  ผลการทดลองศึกษากรรมวิธีการเตรียมน้ำสต๊อกผัก  พบว่าควรใช้หัวไชเท้า 100 กรัมและหอมหัวใหญ่ 75 กรัม ต่อน้ำ 1,000  กรัม  โดยตุ๋นกับกระดูกไก่  กระเทียม  พริกไทย เกลือ  ซีอิ๊วขาว และผงชูรส เคี่ยวเป็นเวลา  2 ชั่วโมง  จึงจะให้น้ำซุปที่มีลักษณะใส รสชาติดี ให้คะแนนความชอบสูงสุด จากนั้นทดลองศึกษากรรมวิธีการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม  พบว่าใช้อุณหภูมิ  121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา  12 นาที (ค่า   F0 = 6.53 ) สำหรับการพัฒนาสูตรซุปผักบรรจุกระป๋อง พบว่าสูตรที่เหมาะสม คือ เนื้อไก่ 30% ฟักทอง 10% และ เห็ดหอม  ข้าวโพดหวาน แครอท อย่างละ 20% จากนั้นทำการปรับปรุงรสชาติของซุปผักอีกครั้งโดยใช้ เกลือ 1.4% ซีอิ๊วขาว  3.0%  ผงชูรส 0.4% และน้ำตาลกรวด 2.0% ของน้ำปรุงก็จะได้ผลิตภัณฑ์ซุปผักบรรจุกระป๋องที่มีลักษณะทางประสาทสัมผัสโดยรวมดีที่สุด ซึ่งคุณภาพด้านกายภาพ และเคมี ดังนี้  ความข้นหนืดของซุป 1.74 cps เป็นอาหารประเภทมีความเป็นกรดต่ำ pH  5.97 และมีปริมาณไขมันต่ำเพียง 0.49% เมื่อนำผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้มาทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคจำนวน 120 คน พบว่า ได้รับคะแนนความชอบในด้านต่าง ๆ  อยู่ในระดับปานกลาง ( 7.22 – 7.47 ) โดยมีผู้บริโภคยอมรับ  95.8 % และผู้บริโภค 73.3% มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์  สรุปผลิตภัณฑ์ซุปผักบรรจุกระป๋องที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในระดับสูงจึงมีความเป็นไปได้ทางการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพาพร อยู่วิทยา. 2536. สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ. อาหาร 23(1): 47-52.
ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. 2532. กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 302 หน้า.
วิไล รังสาดทอง. 2543. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ. 401 หน้า.
สุรพล อุปดิสสกุล. 2537. สถิติการวางแผนการทดลอง เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2, สหมิตรออฟเซท, กรุงเทพฯ. 493 หน้า.
Alstrand, D.V. and O.F. Ecklund. 1952. The mechanic and interpretation of heat penetration tests in canned foods. Food Technol. 6(5): 185-189.
Andrews, W. 1992. Manual of Food Quality Control: 4/Rev. 1 Microbiological Analysis. FAO Food and Nutrition Paper 14/4 Rev. 1 Food and Agriculture Organization of the United Nation, Rome.
AOAC. 1998. Official Method of Analysis. 16th ed./Rev. 4. Association of Official Analytical Chemists International, Maryland.