การจำแนกพันธุ์บัวอุบลชาติโดยการวิเคราะห์ไอโซไซม์

Main Article Content

สุพัตรา ปทุมเมือง
วีณัน บัณฑิตย์

บทคัดย่อ

อุบลชาติเป็นบัวในสกุล Nymphaea เป็นพืชที่มีการผสมพันธุ์แบบเปิด จึงมีลูกผสมพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะและสีสันแตกต่างกันออกไป ในการทดลองเพื่อศึกษารูปแบบของไอโซไซม์จากใบอ่อนและใบที่เจริญเต็มที่ของ Nymphaea spp.  เพื่อใช้ในการจำแนกพันธุ์อุบลชาติ และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้เทคนิคอิเล็คโตรโฟรีซิส นำตัวอย่างจำนวน 10 พันธุ์  มาศึกษารูปแบบไอโซไซม์ 4 ระบบ ได้แก่ EST, SKD, GOT และ POX  และเมื่อนำระบบเอนไซม์ไปวิเคราะห์ตัวอย่างที่ไม่ทราบชื่อในแต่ละกลุ่มของบัวผัน บัวฝรั่ง และบัวสาย พบแถบร่วมที่อาจนำไปใช้เป็นเครื่องหมายสำหรับการจำแนกกลุ่มได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสริมลาภ วสุวัต. 2540. บัว: ไม้ดอกไม้ประดับ. บ้านและสวน. กรุงเทพฯ. 227 น.
เสริมลาภ วสุวัต. 2546. พัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจของชาติ. 35 น. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง พัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจของชาติ 16-22 กรกฎาคม 2546. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อริยา สาตรพันธุ์ อรดี สหวัชรินทร์ วิจิตร วังใน รวี เสรฐภักดี และประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ. 2539. การใช้ไอโซไซม์ในการจำแนกสายพันธุ์และ คัดเลือกลูกผสมในมะนาว. น 8-13. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 34 30 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2539.
อาภัสสรา ชมิดท์. 2537. เทคนิคอิเล็กโตรโฟรีซิส. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ. 86 น.
Apavatjrut, P., S. Anuntalabhochai, P. Sirirugsa and C. Alisi. 1999. Molecular markers in the identification of some early flowering Curcuma L. (Zingiberaceae) species. Ann. Bot. 84: 529-534.
Aradhya, M. K., F. T. Zee and R. M. Manshardt. 1995. Isozyme Variation in Lychee (Litchi chinensis Sonn.). Scientia Horticulturae 63: 21-35. [Online]. Available http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail. nsp (19 February 2004).
Jaaska, V. 1983. Rye and triticale. p. 79-101. In S. D. Tanksley and T. J. Orton (eds.). Isozymes in Plant Genetics and Breeding Part B. Elsevier Science Pub. B. V., Amsterdam.
Kumar, S., V. P. Sharma and H. C. Kapoor. 1995. Isozymic identification of cultivars of ber (Zizyphus mauritiana Lamk. Hort. Sci. 70(2): 303-306.
Pagels, W. 2000. Chromosome Counts of Waterlilies and Other Nymphaeaceae. [Online]. Available http://www.victoria-adventure.org/waterlilies/walter_chromosome_counts.html (19 February 2004).
Protopapadakis. E. E., and A. Yannitssaros. 1994. Identification by isozymes of nine populations of Tulipa from Greece. Hort. Sci. 69(1): 11-14.
Shields, C. R., T. J. Orton and C. W. Stuber. 1983. An outline of general resource needs and procedures for the electrophoretic separation of active enzymes from plant tissue. p. 443 – 468. In S. D. Tanksley and T. J. Orton (eds.). Isozymes in Plant Genetics and Breeding Part A. Elsevier Science Pub. B. V., Amsterdam.
Vanijajiva, O., W. Suvachittanont and P. Sirirugsa. 2003. Isozyme analysis of relationships among Boesenbergia (Zingiberaceae) and related genera in Southern Thailand. Biochemical systematics and ecology31(5): 499-511.