ด้วยสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโลกที่ได้ถีบตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดีเซลและเบนซีนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการประกอบกิจกรรมทั้งด้านพลังงาน เศรษฐกิจและตลอดจนการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตาม

ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ แม้ว่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการประกอบกัน แต่มีปัจจัยพื้นฐานสำคัญมาจากการที่น้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เกิดขึ้นใหม่ จำนวนที่มีอยู่จึงจำกัดตาม หรือเท่าที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นเท่านั้น การใช้น้ำมันของมนุษย์ในทุกครั้งและทุกโอกาสที่เกิดขึ้นจึงทำให้จำนวนทรัพยากรน้ำมันที่เหลืออยู่ลดลงอย่างต่อเนื่องและในท้ายที่สุดจะหมดหรือสูญสิ้นลง ซึ่งก็คาดหมายกันว่าจะเป็นเวลาเพียงอีกราว 30 ปีข้างหน้า  ดังนั้นประชาคมโลกจึงต้องยอมรับและตระหนักในข้อเท็จจริงนี้ และต้องเร่งมือในการเตรียมรับสถานการณ์  ที่สำคัญไม่สามารถคาดหวังได้ว่าในอนาคตราคาน้ำมันจะอ่อนตัวลดลงกลับไปอยู่ในระดับต่ำดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ภายใต้วิกฤตราคานำมันเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นนี้ก็ได้สร้างโอกาสแก่ภาคการเกษตรในการผลิตสิ่งทดแทนหรือพลังงานทดแทนในหลายรูปแบบ เช่น แอลกอฮอล์จากพืช น้ำมันพืชไบโอก๊าซและพลังงานชีวะมวล เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกและทางออกของวิกฤตที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นประโยชน์ช่วยแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ รวมถึงทำให้การผลิตหรือการใช้ทรัพยากรในภาคการเกษตรมีประสิทธิ์ภาพและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จึงเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตราคาน้ำมันที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยที่มีภาคการเกษตรเป็นส่วนเศรษฐกิจพื้นฐาน

ดังนั้นจึงใคร่เชิญชวนให้นักวิจัยทุกท่านให้พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยและดำเนินงานโครงการวิจัยในด้านนี้ รวมถึงส่งบทความผลงานวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารเกษตรเพื่อการเผยแพร่ นำไปสู่การแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

เผยแพร่แล้ว: 2020-09-03

การศึกษาโครโมโซมของลำไย

เกศิณี ระมิงค์วงศ์ , สลิลรัตน์ วิชัยพานิช, วงเดือน สุนทรวิภาต, อาทิตยา เป็งนวล

1-5

กายวิภาคศาสตร์ของเม็ดแป้งของสาคูในประเทศไทย

อัปสร วิทยาประภารัตน์ , เกศิณี ระมิงค์วงศ์

7-14

ผลของการให้น้ำต่อการบานของดอก องค์ประกอบผลผลิตและคุณภาพของกาแฟอราบิก้า

พริมลักษณ์ ประพุทธ์พิทยา , ชวลิต กอสัมพันธ์ , บัณฑูรย์ วาฤทธิ์

37-45