ผลิตภาพของแปลงหญ้าเมื่อปลูกหญ้ารูซี่ในระหว่าง แถบกระถิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลผลิตและคุณภาพ (โปรตีน) ของพืชอาหารสัตว์เมื่อใช้หญ้ารูซี่ (Brachiaria ruziziensis) ปลูก ในระหว่างแถบกระถิน เปรียบเทียบกับหญ้ารูซี่ที่ปลูกลำพังอย่างเดียว ได้ดำเนินการที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทดลองใช้หญ้ารูซี่ปลูกในระหว่างแถบกระถิน วางแผนการทดลองแบบ split plot มีระยะห่างระหว่างแถบกระถิน 2.5 4.0 และ 6 ม. เป็น main-plot และให้การจัดการกระถินใช้เป็นปุ๋ยพืชสด หรือใช้เป็นอาหารสัตว์เป็น sub-plot ผลการทดลองพบว่าหญ้ารูซี่ที่ปลูกระหว่างแถบกระถินระยะ 2.5 ม.ให้ผลผลิต (น.น.แห้ง) และปริมาณโปรตีนรวมทั้งหมดจากการตัด 4 ครั้ง ( ตลอดระยะเวลาการศึกษา 170 วัน) สูงกว่าที่ระยะ 4.0 และ 6.0 ม. ตามลำดับ โดยให้น้ำหนักแห้งรวม(หญ้าและกระถิน) สูงสุดเท่ากับ 1,339 กก./ไร่ และปริมาณโปรตีนเท่ากับ 233 กก./ไร่ ซึ่งสูงกว่าแปลงเปรียบเทียบที่ได้น้ำหนักแห้งและปริมาณโปรตีนเท่ากับ 1,121 และ 80 กก./ไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีที่ใช้กระถินเป็นปุ๋ยพืชสดทำให้ผลผลิตของหญ้ารูซี่ในระยะแถบ 2.5 ม. ไม่แตกต่างไปจากแปลงเปรียบเทียบ แต่จะให้ผลผลิตโปรตีนสูงกว่าคือ 109.4 กก./ไร่ หรือเพิ่มขึ้น 36%
Article Details
References
เฉลิมพล แซมเพชร. 2524. การศึกษาการใช้ใบกระถิน เป็นแหล่งของปุ๋ยไนโตรเจน. ว.วิทย.กษ. 14(3) : 99-109.
ชยงค์ นามเมือง. 2532. การเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยปุ๋ย อินทรีย์กระถินยักษ์ ว.วิชาการเกษตร 7 : 22-25.
บุญฤา วิไลพล นวลจันทร์ วิไลพล และ รัช อรรคแสง. 2532. การศึกษาผลผลิตของหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์ภายใต้สภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สูงที่จังหวัดขอนแก่น, วารสารเกษตรศาสตร์. 23 : 340-348.
ประสาท เกศวพิทักษ์. 2535. เกษตรยั่งยืนในภาคตะวัน-ออกเฉียงเหนือดินและปุ๋ย 14 : 95-110.
สายัณห์ ทัดศรี และชื่นจิต แก้วกัญญา. 2545. ผลของ ระยะระหว่างแถวและความสูงของการตัด กระถินต่อผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้า 3 ชนิดที่ปลูกร่วมกับกระถิน. ว. สงขลานครินทร์ วทท. 24(3) : 371-380.
ปุ๋ยพืชสด หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามวิธี การจัดการใช้กระถินเป็นอาหารสัตว์โดยตรงแทนที่จะใช้ เป็นปุ๋ยพืชสด จะให้ผลผลิตทั้งของน้ำหนักแห้งและโปรตีนสูงกว่า
Budelman, A. 1988. The decomposition of leaf mulches of Leucaena leucocaphala, Gliricidia sepium and Flemingia macropyhlla under humid tropical condition. Agroforestry System 7 : 33-45.
Haynes, R.J. 1980. Competitive aspects of the grass-legume association Adv. Agron. 33 : 227-259.
Inthapun, P. and S. Boonchee. 1990. Cropping system for increasing yield in leucaena alley cropping. DLD Annual Report 1990. Bangkok Thailand. pp. 149-155.
Kang, B.T., L. Reynold and A. N. Atta-Krah. 1990. Alley Farming. Adv. Agron. 43 : 315-359.
Mc Donald. P., R.A. Edwards and J.F.D. Greenhalgh. 1973. Animal nutrition. Edinburgh, Oliver and Boyd, (2nd ed.) pp 296-301.
Sampet, C. 1991. Productivity of Panicum maximum – Leucaena leucocephala mixture under cut and carry system. Leucaena Ressearch Report. Vol. 12 : 93-94.
Sampet, C. 1992. Maize yields under alley cropping with Leucaena leucocephala. MPTS Research Note Vol. 2. Bangkok. Thailand.
Wijewardence, R. and P. Waidyanatha. 1984. Conservation farming system, Techniques and tools. The conservation Farming Manual,
Department of Agriculture, Sri Langka and Common Wealth Consultative Group on Agriculture of Asia-Pacific Region. pp. 30-32.
Wongsuwan, N. and B.R. Watkin. 1990. The management of grass/legume pasture in Thailand: A problem and challenge. ACIAR. Forage Newsletters. No.15: 5-7.