กายวิภาคศาสตร์ของเม็ดแป้งของสาคูในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาสาคู 13 ตัวอย่าง คือ สาคูวิลาส 1-9 (Maranta arundinacea L.) สาคูด่าง (Maranta arundinacea variegata Hort.) ในวงศ์ Marantaceae และสาคูจีน 1-3 (Canna edulis Ker-Gawler) ในวงศ์ Cannaceae พบว่า กายวิภาคศาสตร์ของเม็ดแป้ง แตกต่างกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ สาคูวิลาส 1-9 และสาคูด่าง เม็ดแป้งรูปไตหรือรีแกมไข่ ศูนย์กลางการเจริญอยู่เกือบกึ่งกลาง มีความยาวเฉลี่ย 6-250 ไมโครเมตร กลุ่มที่ 2 ได้แก่ สาคูจีน 1-3 เม็ดแป้งรูปร่างคล้ายเกล็ดหรือลิ่ม ศูนย์กลางการเจริญอยู่ริมของปลายด้านหนึ่ง มีความยาวเฉลี่ย 12-325 ไมโครเมตร
Article Details
References
คณาจารย์ภาควิชาเคมี. 2523. คู่มือเตรียมปฏิบัติการเคมี. หน่วยพิมพ์ออฟเซต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 373 น.
นายเกษตร. 2544. สมุนไพรไม้ประดับหายาก เล่ม 3. แปลน พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ. 255 น.
พิมล เที่ยงธรรม, สุดารัตน์ ตรีเพชรกุล และผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์. 2542. การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เหง้าของพุทธรักษากินได้ (Canna edulis Ker.) เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้ง.[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.kmutt. ac.th/organization/Research/Intellect/ pro419.htm (11 กรกฎาคม 2546).
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลำดับที่ 9 พืชที่ให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. สหมิตรพริ้นติ้ง, นนทบุรี. 301 น. แปลจาก Flach, M. and F. Rumawas (ed.). 1996. Plant Resources of South-East Asia 9 : Plants Yielding Non-seed Carbohydrates. Backhuys Publishers, Leiden. 237 p.
Thai Junior Encyclopedia Project. 2000. พืชหัว. [Online]. Available http://kanchanapisak. or.th/kp6/Book5/Chapter5/t5-5-16.htm. (28 May 2003).