การวิเคราะห์เชิงประจักษ์เกี่ยวกับพฤติกรรมและการประเมินผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมลำไยอบแห้งในจังหวัด ลำพูนและเชียงใหม่ โดยใช้ บาลานซ์ สคอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บาลานซ์ สคอร์การ์ด เป็นระบบการจัดการ ที่ไม่เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้วัดการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังเป็นระบบการแปลงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรให้สารถนำไปใช้ในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ตอบสนองต่อเป้าหมายของการบริหารองค์กรใน 4 ด้าน ได้แก่ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายในธุรกิจ และด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร
การประเมินผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลำไยอบแห้งโดยใช้บาลานซ์ สคอร์การ์ด พบว่า ในภาพรวมตัวชี้วัดที่ผู้ประกอบขาดการให้ความสำคัญและละเลยในการนำไปใช้วางแผนการดำเนินงาน ซึ่งไม่สามารถจัดเรียงอยู่ในลำดับ BSC ตั้งแต่ 1- 10 ลำดับได้ เพราะมีเปอร์เซ็นต์การให้ความสำคัญและการนำไปใช้น้อย ได้แก่ ตัวชี้วัดดังต่อไปนี้ ตัวชี้วัดด้านจำนวนลูกค้าประจำซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ของการให้ความสำคัญและนำ คือ45.27 % และ 43.23 % ตัวชี้วัดด้านระดับความพึงพอใจของลูกค้า คือ 45.27 % และ 41.93 % ตัวชี้วัดด้านส่วนแบ่งตลาด คือ 43.97 % และ 41.93 % ตัวชี้วัดด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ 43.23 % และ 39.15 % ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพในการผลิตของพนักงาน คือ 47.87 % และ 40.82 % เทคโนโลยีการผลิต คือ 43.97 % และ 37.29 % และทักษะของพนักงาน คือ 43.97 % และ 38.22 % หากเพิ่มความสำคัญและนำไปใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้ไปใช้ จะช่วยให้ได้รับกำไรสูงสุด และเมื่อวิเคราะห์ในแต่ละมิติ (มิติทางด้านพื้นที่ มิติทางด้านลักษณะเตาอบ และมิติทางด้านขนาดของธุรกิจ) พบว่าจะ ขาดการให้ความสำคัญและละเลยการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานคล้ายคลึงกันในการวิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์ของมุมมองทางด้านการเงิน และไม่ใช่การเงิน โดยใช้การวิเคราะห์แบบ Multiple Regression พบว่า มุมมองทางด้านการเงินมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับด้านลูกค้า ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต และมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับด้านกระบวนการธุรกิจภายใน และด้านชุมชนและสังคม
ข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการเพื่อให้การบริหารงานขององค์กรมีความสมดุลกันทั้ง 5 ด้าน ควรเพิ่มความสำคัญและนำตัวชี้วัดในมุมมองทางด้านลูกค้า และทางด้านกระบวนการธุรกิจภายในให้มากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการให้รายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น และมีอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ควรจะลดต้นทุนในการผลิต และปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตให้น้อยลง
Article Details
References
ณัฏศรินทร์ หอเจริญ. 2546. การวิเคราะห์เชิงประจักษ์เกี่ยวกับพฤติกรรมและการประเมินผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมลำไยอบแห้งในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ โดยใช้ บาลานซ์ สคอร์การ์ด. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พสุ เดชะรินทร์. 2545. เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา จันทร์ฉาย. 2545. สู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ คู่มือการวางแผนกลยุทธ์ และการจัดทำ BSC (Balanced scorecard). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kaplan, R. S. and Norton, D. P. 1992. The Balanced Scorecard – Measures that Drive Performance. Harvard Business Review 70 (January/February): 71-79.
McWhorter, Laurie Burney. 2000. The Balance Scorecard: An Empirical Analysis of its Effect on Managers’ Job Satisfaction and Performance Evaluations. Doctoral Dissertation. The University of Kentucky.