ผลของการให้น้ำต่อการบานของดอก องค์ประกอบผลผลิตและคุณภาพของกาแฟอราบิก้า

Main Article Content

พริมลักษณ์ ประพุทธ์พิทยา
ชวลิต กอสัมพันธ์
บัณฑูรย์ วาฤทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เน้นถึงผลของการให้น้ำต่อการบานของดอก องค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของกาแฟอราบิก้า (Coffea arabica L.) โดยศึกษาจากต้นกาแฟอายุ 5 ปี ปลูกลงในกระถางพลาสติกขนาด 20 แกลลอนในสภาพโรงเรือน การทดลองประกอบด้วยการให้น้ำแก่ต้นกาแฟที่ระดับ 100, 75, 50, 25% FC และให้น้ำแก่ต้นกาแฟที่ใกล้จุดเหี่ยวถาวร (เมื่อใบเริ่มเหี่ยว) ปริมาณน้ำที่ให้แก่ต้นกาแฟคำนวณจากโปรแกรมดุลยภาพของน้ำในดิน จากการศึกษาพบว่าการให้น้ำแก่ต้นกาแฟในทุกระดับไม่มีผลต่อการเจริญทางด้านกิ่งก้านสาขาของต้นกาแฟ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีรวิทยาในส่วนของค่าศักย์ของน้ำในใบ ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมและจำนวนปากใบต่อตารางมิลลิเมตร โดยการให้น้ำแก่ต้นกาแฟที่ระดับ 100%FC มีค่ามากกว่ากรรมวิธีอื่น มีการพบว่าการให้น้ำในทุกระดับมีผลต่อจำนวนวันนับจากการให้น้ำครั้งแรกจนถึงดอกบาน โดยเฉพาะการให้น้ำเมื่อใกล้จุดเหี่ยวถาวร มีจำนวนชุดที่ดอกบานมากที่สุดคือ 5.37 ชุด รองลงมาคือการให้น้ำที่ 25%FC 3.93 ชุด ส่วนการให้น้ำที่ระดับ 50, 75 และ 100%FC มีค่าอยู่ระหว่าง 2.31 ถึง 2.43 ชุด ส่วนทางด้านการติดผล การให้น้ำแก่ต้นกาแฟในทุกระดับมีผลต่อจำนวนวันนับจากให้น้ำ ครั้งแรกถึงติดผลและผลสุก โดยต้นที่ให้น้ำ 50%FC ใช้เวลามากกว่ากรรมวิธีอื่น ต้นกาแฟที่มีการให้น้ำ 25%FC และการให้น้ำเมื่อใกล้จุดเหี่ยวถาวร มีจำนวนชุดที่ผลสุกมากที่สุดคือ 5.37 และ 5.56 ชุด ตามลำดับ ซึ่งต้นที่ให้น้ำ 100, 75 และ 50%FC  มีจำนวนชุดที่ผลสุกเพียง 3.37, 3.37 และ 3.12 ชุด ตามลำดับ นอกจากนั้นการให้น้ำเมื่อเหี่ยวมีจำนวนผลสุกต่อกิ่งและจำนวนผลสุกต่อข้อมากที่สุด การให้น้ำแก่ต้นกาแฟในทุกระดับไม่มีผลต่อองค์ประกอบผลผลิตและ   ผลผลิต ในด้านของจำนวนข้อต่อกิ่ง จำนวนข้อที่ติดผล แต่พบว่าการให้น้ำที่ 100%FC ทำให้น้ำหนักผลกาแฟสุกเฉลี่ย 100 ผล มีค่ามากที่สุด 204.42 กรัม การให้น้ำเมื่อเหี่ยวให้ผลผลิตต่อต้นมากที่สุด แต่ผลผลิตสุกไม่พร้อมกันต้องเก็บเกี่ยวหลายครั้งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่การให้น้ำแก่ต้นกาแฟที่ระดับ 50%FC ขึ้นไป มีจำนวนชุด ดอกบานน้อยกว่า ผลผลิตที่ได้จึงมีจำนวนน้อยตามไปด้วย แต่ผลผลิตสุกสม่ำเสมอกว่าจึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้าน   แรงงานและเก็บเกี่ยวง่ายขึ้น  นอกจากนั้นผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีในด้านน้ำหนักผลกาแฟสุก น้ำหนักสารกาแฟเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์เกรดสารกาแฟ ดีกว่า ทำให้ผลผลิตมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นการให้น้ำแก่ต้นกาแฟที่ระดับ 75%FC ขึ้นไป      ดีกว่าการให้น้ำที่ระดับ 25, 50%FC และให้น้ำแก่ต้นกาแฟที่ใกล้จุดเหี่ยวถาวร และการให้น้ำที่ระดับ 75%FC เหมาะสมที่สุดเนื่องจากใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่า ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและคุณภาพผลผลิตที่ได้ไม่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับระดับ 100%FC มากนัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาวุฒิ สันติพงศ์. 2540. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่มีต่อการบานของดอก การเจริญเติบโต และการแก่ของผลกาแฟอราบีก้าพันธุ์ คาติมอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 183 น.
บัณฑูรย์ วาฤทธิ์. 2541. วิธีหาความสมดุลของน้ำในดิน โดยใช้เทคนิคจากการใช้โปรแกรม Basic. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 73 น.
อักษร เสกธีระ และพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2537. การปลูกและผลิตกาแฟบนที่สูง. ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 215 น.
Bayan, H.C. and P. Bora. 1997. A Study on permanent wilting point in some coffee selections. Ann. Biol. (Ludhiana) (1): 107-110.
Browning, G. 1975. Shoot growth in Coffea arabica L. I. Responses to rain fall when the soil moisture status and gibberellin supply are not limiting. J. hort. Sci., 3:1-11.
Crisosto, C.H., D.A. Grantz, and F.C. Meinzer. 1992. Effects of water deficit on flower opening in coffee (Coffea arabica L.). Tree physiology. 10(2): 127-139.
Drinnan, J.E., and C.M. Menzel, 1995. Temperature affects vegetative growth and flowering of coffee (Coffea arabica L.). Journal of horticultural Science 70(1): 25-34.
Procter, J.T.A. 1981. Stomata conductance change in leaves of McIntosh apple tree before and after fruit removal. Can. J. Bot. 59: 50-53.
Slatyer, R.O. 1967. Plant-Water Relationships. Academic Press, Inc., New York. 362 p.
Thymms, M.J. and D.F. Gaff. 1979. Proline accumulation during water stress in resurrection plants. J. Exp. Bot. 30: 165-168.
Warrit, B. 1977. Studies on Stomatal Behavior in Apple Leaves. Ph. D. Thesis. Univ. of Bristol, U.K.