ปริมาณแกมมา-โอไรซานอลในผลิตภัณฑ์จากพืชชนิดต่างๆ

Main Article Content

พันทิพา พงษ์เพียจันทร์
ธวัชชัย แถวถาทำ
ดำเนิน กาละดี

บทคัดย่อ

แกมมา-โอไรซานอล (γ-oryzanol) เป็นสารประกอบที่พบมากในรำข้าวขาว และรำข้าวเหนียวดำ แกมมา-โอไรซานอล มีคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระ, ลด Cholesterol, Triglyceride, เพิ่มระดับของ HDL ในเลือด, กระตุ้นการทำงานของต่อมใต้สมอง, ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร, ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด, ลดน้ำตาลในเลือด และเพิ่มระดับของฮอร์โมนอินซูลินในเลือดของคนเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนั้นแล้วแกมมา-โอไรซานอล ยังทำหน้าที่ในการต้านการหืนของไขมันในรำข้าว ซึ่งแกมมา-โอไรซานอล มีคุณสมบัติในการต้านการหืนได้ดีกว่า ไวตามิน อี ถึงสิบเท่า จากคุณสมบัติที่มีประโยชน์หลายข้อของแกมมา-โอไรซานอล จึงนำไปสู่การวิจัยในครั้งนี้เพื่อแสวงหาแหล่งที่ดีของแกมมา-โอไรซานอล จากผลการทดลองพบว่ารำข้าวเหนียวดำพันธุ์ ก่ำนาน มีค่าแกมมา-โอไรซานอล สูงที่สุดคือ 2.854 %วัตถุแห้ง แต่ถ้าเปรียบเทียบจากความเข้มข้นของแกมมา-โอไรซานอลในไขมันโดยรวม พบว่ารำข้าวเหนียวดำพันธุ์ ก่ำดอยสะเก็ด มีค่าเปอร์เซ็นต์ แกมมา-โอไรซานอลในไขมันโดยรวม สูงที่สุดคือ 20.160 % ส่วนผลิตภัณฑ์จากพืชชนิดต่างๆ ที่นำมาตรวจสอบหาแกมมา-โอไรซานอล ในงานวิจัยนี้มีค่าของแกมมา-โอไรซานอล ต่ำมาก เมื่อเทียบกับรำของข้าวพันธุ์ต่างๆ โดยพบว่า ดอกคำฝอยไม่มีแกมมา-โอไรซานอล เป็นองค์ประกอบอยู่เลย นอกจากนั้น ข้าวโพด, งา, เมล็ดลินสีด, กากเรปสีด, กากฝ้าย, ถั่วเหลืองไขมันเต็ม และรำข้าวสาลี มีค่าแกมมา-โอไรซานอล อยู่ในระดับต่ำคือ 0.241, 0.007, 0.014, 0.003, 0.003, 0.001 และ0.143 %วัตถุแห้ง ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ข้าวเหนียวดำด้วยกันแล้วพบว่า ก่ำนาน และก่ำดอยสะเก็ดมีค่าแกมมา-โอไรซานอล ใกล้เคียงกันคือ 2.854 และ2.693 %วัตถุแห้ง ตามลำดับ นอกจากนั้นข้าวเหนียวดำพันธุ์ ก่ำอมก๋อยมีค่าแกมมา-โอไรซานอล ต่ำที่สุดในบรรดาข้าวเหนียวดำคือ 1.882 %วัตถุแห้ง แต่อย่างไรก็ตามข้าวเหนียวดำทุกพันธุ์มีค่าแกมมา-โอไรซานอล สูงกว่าผลิตภัณฑ์จากพืชชนิดต่างๆที่นำมาวิเคราะห์หาแกมมา-โอไรซานอล ในการวิจัยครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cicero, A. F., A. Gaddi. 2001. Rice bran oil and gamma-oryzanol in the treatment of hyperlipoproteinaemias and other conditions. Journal of Phytotherapy Research: PTR. Volume 15 : 277-289
Deckere, E. A. M., and O. Korver. 1996. Minor constituents of rice bran oil as functional foods. Copyright International Life Sciences Institute and Nutrition Foundation. Nutrition Reviews. Volume: 54. Issue: 11. Part: 2.
Hughes, D. A. 2001. Dietary carotenoids and human immune function. Journal of Nutrition 17: 823 – 827.
Karladee, D., P. Pongpiachan, T. Teltathum and A. Gavilo. 2003. Accumulation of gamma oryzanol in purple rice grain. 2nd National Technical Seminar on Postharvest/Post Production Technology. 21 – 22 August at Jalearn Princess Konkaen Hotel.
Nanua, J. N., J. U. McGregor, and J. S. Godber. 2000. Influence of high oryzanol rice bran oil on the oxidative stability of whole milk powder. Journal of Dairy Science. 83 : 2426 - 2431.
Qureshi, A. A., S. A. Samib, F. A. Khanb. 2002. Effects of stabilized rice bran, its soluble and fiber fractions on blood glucose levels and serum lipid parameters in humans with diabetes mellitus Types I and II. Journal of Nutritional Biochemistry. 13 : 175–187
Xu, Z., and J. S. Godber. 1999. Purification and identification of components of gamma oryzanol in rice bran oil. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 47 : 2724 -2728.
Xu, Z., N. Hua, J. S. Godber. 2001. Antioxidant activity of tocopherols, tocotrienols, and gamma oryzanol components from rice bran against cholesterol oxidation accelerated by 2,2'-azobis (2-methylpropionamidine) dihydrochloride. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 49 : 2077 - 2081.