ไม้ผลไทยกับการเป็นครัวของโลก

ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารเกษตรฉบับนี้  จะมีผลงานเกี่ยวกับไม้ผลอยู่หลายเรื่อง  ทำให้นึกถึงทิศทางการวิจัยไม้ผลในอนาคต ที่เรานักวิจัยควรทราบ จึงใคร่ขอถือโอกาสนี้กล่าวถึงทิศทางและกลยุทธ์การวิจัยที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ตั้งคณะทำงานศึกษา  และได้รายงานไว้ใน “บทสรุป  สถานภาพและการจัดลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยแห่งชาติด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร” ซึ่งจัดพิมพ์และเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2547 โดย  คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา  โดยขอสรุปเฉพาะ“ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาไม้ผล” ดังนี้

ไม้ผล/ผลไม้  เป็นผลผลิตเกษตรที่มีคุณภาพทั้งในเชิงโภชนาการและสุขอนามัย และมีผลตอบแทนสูง (High Value Crop) การพัฒนาระบบอุตสาหกรรมไม้ผล/ผลไม้นั้นประกอบไปด้วย ส่วนการผลิตเป็นต้นทาง (Up-stream) ส่วนการตลาดและส่วนการแปรรูปเป็นกลางทาง (Mid-stream) และส่วนการบริโภคปลายทาง (Down-stream) ต้องพึ่งพาการวิจัยในการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกส่วนอย่างเป็นบูรณาการ  โดยมีส่วนการบริโภคเป็นส่วนสำคัญ

จากการรวบรวมงานวิจัยไม้ผลระหว่างปี 2539-2545 มีโครงการวิจัยที่ได้ดำเนินงานโดยหน่วยงานต่างๆรวม 418 โครงการ  โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการวิจัยสาขาการผลิต  สาขาการแปรรูป/การใช้ประโยชน์  และสาขาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว  ส่วนการวิจัยสาขาการควบคุมการผลิตสาขาการตลาดและสาขาการบริโภคซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของไม้ผลและเป็นส่วนสำคัญของระบบอุตสาหกรรมไม้ผล/ผลไม้  มีการวิจัยไม่มากนัก

ด้วยเหตุนี้  แนวทางการวิจัยไม้ผลในอนาคต จึงน่าจะเป็นการศึกษาต่อยอดองค์ความรู้ที่นักวิจัยในสาขาเหล่านี้ได้ดำเนินการอย่างประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถพัฒนาเทคนิคที่ทำให้เป็นที่ยอมรับจากทั้งเกษตรกรและในระดับนานาชาติ  การพัฒนาไม้ผลของชาติจะต้องมุ่งสู่ “ระบบการผลิตเชิงอุตสาหกรรม” ที่มีความเชื่อมโยงระบบจากฟาร์มสู่โรงงาน สู่ตลาด โดยใช้ “ผู้บริโภค” ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นเป้าหมายการพัฒนา  การวิจัยแนวทางรวมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งจำเป็น

ถ้าเราเห็นด้วย  โจทย์วิจัยของเราน่าจะมุ่งให้เกิดสิ่งเหล่านี้พร้อม ๆ กัน  คือ 1) มีปริมาณผลผลิตมากและสม่ำเสมอตลอดปี 2) มีคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของตลาด 3) ต้นทุนต่ำแข่งขันได้ 4) มีระบบจัดส่งและจำหน่ายถึงโรงงานหรือถึงผู้บริโภคตรงเวลา  และ 5) มีระบบฐานข้อมูลเพื่อเตือนภัยและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน  รวมทั้งการต่อรองในระดับนานาชาติ  เป็นต้น

เผยแพร่แล้ว: 2020-09-24

ผลของแกมมา-โอไรซานอล ต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ในหนูถีบจักรเพศผู้

ธวัชชัย แถวถาทำ, เพทาย พงษ์เพียจันทร์ , พันทิพา พงษ์เพียจันทร์

103-110

ปริมาณแกมมา-โอไรซานอลในผลิตภัณฑ์จากพืชชนิดต่างๆ

พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ , ธวัชชัย แถวถาทำ , ดำเนิน กาละดี

111-119

ผลของสารสกัดกวาวเครือขาวที่มีต่อการสืบพันธุ์ของแมลงวันบ้าน

ลักขณา ร่มเย็น , ยุทธนา สมิตะสิริ , ปรัชวาล สุกุมลนันทน์ , จิราพร ตยุติวุฒิกุล

133-141

การจำแนกลำไยพันธุ์ดอโดยวิธีสัณฐานวิทยา

สลิลรัตน์ วิชัยพานิช, เกศิณี ระมิงค์วงศ์

142-151

การจำแนกกล้วยไม้ไทยสกุลหวายโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี

ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์, วีณัน บัณฑิตย์ , ณัฐา ควรประเสริฐ

152-158

การหาโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตันและลักษณะทางพืชสวนของมะระขี้นก

สโรชา กรีธาพล , ปรัชญา คงทวีเลิศ, มณีฉัตร นิกรพันธุ์

159-167

การปรับปรุงพันธุ์คาร์เนชั่น

ชยาภรณ์ ปริยานนท์ , อดิศร กระแสชัย , ขนิษฐา เสนาวงศ์

197-203