การหาโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตันและลักษณะทางพืชสวนของมะระขี้นก

Main Article Content

สโรชา กรีธาพล
ปรัชญา คงทวีเลิศ
มณีฉัตร นิกรพันธุ์

บทคัดย่อ

ตรวจหาโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตันในส่วนต่างๆ ของมะระขี้นก (Momordica charantia) และศึกษาลักษณะทางพืชสวนของมะระขี้นกทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เบอร์ 3,  สายพันธุ์เบอร์ 7, สายพันธุ์เบอร์ 8 และสายพันธุ์เบอร์ 13 โดยนำมาปลูก ณ แปลงทดลองภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ เดือนเมษายน ปี 2545 - เดือนเมษายน ปี 2546 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (randomized complete block  design) มี 3 ซ้ำ พบว่า สายพันธุ์ที่ ทดสอบมีวันออกดอก 50% ของดอกเพศเมียหลังเพาะเมล็ดระหว่าง 55-68 วัน สายพันธุ์เบอร์ 7 เป็นพันธุ์ที่ออกดอกเร็วที่ สุด คือ 55 วัน สายพันธุ์เบอร์ 13 เป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้าที่สุด คือ 68 วัน ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะระขี้นก 4 สายพันธุ์ พบว่า จำนวนเมล็ดต่อผลของมะระขี้นกทั้งหมดมีระหว่าง 15-30 เมล็ด สายพันธุ์เบอร์ 8 มีจำนวนเมล็ดต่อผล มากที่สุด คือ 30 เมล็ด และสายพันธุ์เบอร์ 3 มีจำนวนเมล็ดต่อผลน้อยที่สุด คือ 15 เมล็ด ผลผลิตของสายพันธุ์ทั้งหมดมีระหว่าง 320.09-1,186.44 กิโลกรัมต่อไร่ สายพันธุ์เบอร์ 7 ให้ผลผลิตสูงที่สุด 1,186.44 กิโลกรัมต่อไร่ และสายพันธุ์เบอร์ 13 ให้ผลผลิตต่ำที่สุด 320.09 กิโลกรัมต่อไร่


การสกัดโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตัน จากใบที่ระยะ 10, 20, 30 และ 40 วันหลังใบคลี่   ส่วนผล และเอนโดส-  เปิร์มสกัดที่ระยะ 8, 16 และ 24 วันหลังดอกบานของมะระขี้นก (ผสมตัวเองด้วยมือ) โดยตกตะกอนโปรตีนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต และตรวจหาโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตัน โดยวิธี ELISA โดยทำการศึกษาจากตัวอย่างน้ำหนักสดจำนวน 5 กรัม พบว่า ในเอนโดสเปิร์มมีปริมาณสูงที่สุด รองลงมา คือ ใบ และผลตามลำดับ เอนโดสเปิร์มที่ระยะ 24 วันหลังดอกบานมีปริมาณโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตันสูงที่สุดอยู่ระหว่าง 23.09-47.97 ไมโครกรัม สายพันธุ์เบอร์ 3 มี ปริมาณสูงที่สุด คือ 47.97 ไมโครกรัม ในใบมะระขี้นกใบที่ระยะ 30 วันหลังใบคลี่มีปริมาณโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตันสูงที่สุดอยู่ระหว่าง 0.044-0.1154 ไมโครกรัม สายพันธุ์เบอร์ 13 เป็นสายพันธุ์ที่มีปริมาณสูงที่สุด คือ 0.1154 ไมโครกรัม ผลของมะระขี้นกทั้ง 4 สายพันธุ์ ผลที่ระยะ 24 วันหลังดอกบานมีปริมาณโปรตีนขนาด 30 กิโลดัลตันสูงที่สุดอยู่ระหว่าง 0.0071-0.0149 ไมโครกรัม    สายพันธุ์เบอร์ 13 เป็นสายพันธุ์ที่มีปริมาณสูงที่สุด คือ 0.0149 ไมโครกรัม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัทมา สุนทรศารทูล. 2541. มะระขี้นก. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 มกราคม 2541. [ระบบออนไลน์]http://www.medplant.mahidol. ac.th/ micro/charantia.htm. (28 มีนาคม 2545).
รุ่งรัตน์ เหลืองนทีเทพ. 2540. พืชเครื่องเทศและสมุนไพร.พิมพ์ครั้งที่1.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.กรุงเทพ ฯ. 200 หน้า.
วัชรี ประชาศรัยสรเดช. 2542. คุณค่าของผักพื้นบ้าน: มะระขี้นก. เคหการเกษตร ปีที่ 23 ฉบับที่ 11 เดือน พฤศจิกายน. กรุงเทพฯ. หน้า 169-170 .
วีณา จิรัจฉริยากูล. 2543. ทางเลือกสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ (Natural Alternative Therapy). จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 17 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 2543. [ระบบออนไลน์] http://www. medplant.mahidol. ac.th/mIcro/17(4)_1.htm -21k. (26 มีนาคม 2544).
วีระศักดิ์ สหชัยเสรี. 2544.โปรตีนเทคโนโลยี. โครงการตำรา และเอกสารประกอบการเรียนเคมี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใม่. 238 หน้า.
เอมอร โสมนะพันธุ์. 2545. สมุนไพรยับยั้งเอดส์ (ANTI-HIV (AIDS) HERBS). [ระบบออนไลน์] http://www.boonmeeherb.com/tantil.htm. (27 เมษายน 2545)
Buchakul, N. 2001. The toxicity test of Momorcharin charantia L. seed protein. Thesis for Master of Science in Pharmacy (Toxicology). Mahidol University, Bangkok. 130 p.
Ditchaiwong, C., P. Kongtawelert, S. Natakankitkul, M. Tongjiem and M. Nikornpun. 2002. Varietal evaluation and 30 kDa protein studies in local bitter gourd. Kasetart J. (Nat. Sci.). Kasetsart University. 36: 225-234.
Ditchaiwong, C., P. Kongtawelert, S. Natakankitkul, M. Tongjiem and M. Nikornpun. 2003. Varietal evaluation and 30 kDa protein studies in local bitter gourd. The 3 rd World Congresson Medicinal and Aromatic plants for Human Welfare (WOCMAP ) 3-4 February 2003. Chiang Mai. Thailand. OP 04-10 and PP 02-83.
Kantawong, F.. 2003. Purification and characterization of -Momorcharin from Bitter melon seeds for quantitative analysis by immunoassay. Master of Science in Biochemistry, Chiang Mai University, Chiang Mai. 91 p.
Lee-Huang, S. , P. L. Huang, P. L. Nara, C. Hao-Chen, K. Hsiang-fu, P. Huang, H. I. Huang and P. L. Huang. 1990. MAP30: A new inhibitor of HIV-1 infection and replication. FEBS Letters. 272(1-2):12-18.
Lee-Huang, S., P. L. Huang, A. S. Bourinbaiar, H. C. Chen and H. F. Kung. 1995b. Inhibition of the intergrase of human immunodeficiency virus (HIV) type 1 by anti-HIV plant proteins MAP30 and GAP31. Proc. Natl. Acad. Sci. 92: 8818- 8822.
Lee-Huang, S., P. L. Huang, H. C. Chen, A. Bourinbaiar, H. I. Huang and H. F. Kung. 1995a. Anti-HIV and anti-tumor activities of recombinant MAP30 of bitter melon. Gene 161: 151-156.
Lee-Huang, S, H. F. Kung, P. L. Huang, A. S. Bourinbaiar, J. L. Morell, J. H. Brown, P. L. Huang, W. P. Tsai, A. Y. Chen, H. I. Huang and H. C. Chen. 1995c. Human immunodeficiency virus type 1 (HIV-1) inhibition, DNA-binding, RNA-binding, and ribosome inactivation activities in the N-terminal segments of the plant anti-HIV GAP31. Proc. Natl. Acad. Sci. USA 91: 12208-12212.
Yeung, H. W., W. W. Li, W. Y. Chan, L. K. Law and T. B. Ng. 1986. Alpha and beta momorcharins. Int. J. Pept. Protein Res. 28: 518-524.
Zheng, Y. T., K. L. Ben and S. W. Jin. 1999. Alpha-momorcharin inhibits HIV-1 replication in acutely but not chronically infected T-lymphocytes. Zhongguo Yao Li Xue Bao. 20(3): 239-243.