ผลของจิบเบอเรลลินที่มีต่อการยืดอายุเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้ว ที่ปลูกในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ

บทคัดย่อ

ภาคเหนือตอนบนในเขตที่ดอนอาศัยน้ำฝน โดยธรรมชาติเป็นแหล่งผลิตมะม่วงปลายฤดูของประเทศ จากข้อได้เปรียบด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงทำให้พื้นที่นี้มีศักยภาพในการผลิตมะม่วงแก้วล่าฤดูเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของจิบเบอเรลลิน (GA3) ต่อการยืดอายุเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงแก้วบนต้น วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์(Completely Randomized Design, CRD) จัดสิ่งทดลองแบบ Factorial มี 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของจิบเบอเรลลิน (GA3) 5 ระดับ (0, 50, 100, 150 และ 200 สตล.) โดยพ่นที่ช่อผลเมื่ออายุ 80 วันหลังดอกบานเต็มที่ ร่วมกับจำนวนครั้งในการให้สาร 2 ระดับ คือ 1 และ 2 ครั้ง ครั้งแรกพ่น GA3 ที่ 80 วันหลังดอกบานเต็มที่ ครั้งที่สอง พ่นหลังจากครั้งแรก 1 สัปดาห์ ทดลองกับต้นมะม่วงแก้วอายุ 12 ปี ระยะปลูก 6 เมตร X 6 เมตร จำนวน 3 ซ้ำ ให้ 1 ต้นแทน 1 ซ้ำ ระหว่างเดือนธันวาคม 2543-พฤษภาคม 2544 บนพื้นที่เกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โครงการป่าจอมทอง กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ผลการทดลองพบว่า ทั้ง 2 ปัจจัยไม่มีผลต่อการยืดอายุเก็บเกี่ยว ขนาด น้ำหนักผลและเมล็ด การร่วงของผล ความเหนียวก้านขั้วผล ความแน่นเนื้อ ปริมาณน้ำตาลที่ละลายน้ำได้ (soluble solids, SS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (titratable acidity, TA) แต่จำนวนครั้งในการให้ GA3 มีผลต่อค่าความสว่างของสี (lightness, L) ผิวเปลือก โดยกลุ่มที่ได้รับ GA3 2 ครั้ง ผิวเปลือกมีสีเขียวใสสว่างกว่ากลุ่มที่ได้รับ GA3 เพียงครั้งเดียว ส่วน GA3 ระดับความเข้มข้น 200 สตล. ทำให้เนื้อมีสีเหลืองคล้ำกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้ GA3 เพื่อยืดอายุเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วในภาคเหนือตอนบนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เหลืองสุวาลัย. 2537. การศึกษาการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ดัชนีการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการบ่มผลมะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์แก้วจุก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2546. มะม่วงแก้ว ไม้ผลเพื่อความหวังและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 199 น.
ธีรวุฒิ มาประชา. 2540. อิทธิพลของ GA3, GA4+7, GA4+7 + BA ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้และพันธุ์ฟ้าลั่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ ปฐมา เดชะ. 2545. พัฒนาการของมะม่วงแก้วในสภาพที่ดอนอาศัยน้ำฝน : ความแปรปรวนการร่วงของผลระหว่างสายต้น. วารสารวิทยา ศาสตร์เกษตร 33 (4-5) : 71-74.
วิมล แก้วลัดดากร. 2545. อิทธิพลของสาร GA3 ต่อการ ติดผล การเจริญเติบโตของผล และการเปลี่ยน แปลงปริมาณ GA3-, ABA- like substances ภายในผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
A.O.A.C. 1990. Official Methods of Analysis. Association of Official Analytical Chemist. Virginia. 1298 p.
Davenport, T.L. and R. Nunez-Elisea. 1997. Reproductive Physiology. pp. 203-256. In R. E. Litz (ed.). The Mango Botany, Production and Uses. CAB International, Wallingford.
El-Otmani, M., A. A. M’ Barek and C. W. Coggins. 1990. GA3 and 2,4-D prolong on – tree storage of citrus in Morocco. Scientia Horticulturae 44 : 241-249.
Garcia-Luis, A., A. Herrero-Villen and J.L. Guardiola. 1992. Effects of applications of gibberellic acid on late growth, maturation and pigmentation of the Clementine mandarin. Scientia Horticulturae 49 : 71-82.
Guardiola, J. L., M. T. Barres, C. Albert and L. A. Garcia. 1994. Growth regulators and fruit development in Satsuma mandarin. Hort. Abstr. 64 : 110.
Looney, N. E. 1996. Role of endogenous plant growth substances in regulating fruit tree growth and development. pp. 31-40. In K. M. Maib, P. K. Andrews, G. A. Lang and K. Mullinix (eds.). Good Fruit Grower, Washington. 165 p.
Ludford, P. M. 1995. Postharvest hormone changes in vegetables and fruit. pp. 725-750. In P. J. Davies (ed.). Plant Hormones Physiology, Biochemistry and Molecular Biology. Kluwer Academic Publishers, Netherlands.
Krisanapook, K., L. Phavaphutanon, A. Pichakum and K. Jutamanee. 2000. Studies on fruit growth, levels of GA-like substances and CK-like substances in fruits of mango cv. Khiew sawoey. Acta Hort 509 : 697-704.
McDonald, R. E., P.D. Greany, P. E. Shaw and T. G. McCollum. 1997. Preharvest applications of gibberellic acid delay senescence of Florida grapefruit. Journal of Horticultural Science 72 (3) : 461-468.
Schirra, M., G. D. Hallewin, P. Inglese and T. La Mantia. 1999. Epicuticular changes and storage potential of cactus pear (Opuntia ficus-indica Miller (L.)) fruit following gibberellic acid preharvest sprays and postharvest heat treatment. Postharvest Biology and Technology 17 : 79-88.
Taiz, L. and E. Zeiger. 1998. Plant Physiology. 2nd edition. Sinauer Associates, Inc., Publishers.Massachusetts. 792 p.
Willemsen, K. 2000. “ Gibberellins”. [Online]. Available http://www.frec.wsu. edu/Horticulture/stonefruits. html. (28/10/2000).