ผลของสารสกัดกวาวเครือขาวที่มีต่อการสืบพันธุ์ของแมลงวันบ้าน

Main Article Content

ลักขณา ร่มเย็น
ยุทธนา สมิตะสิริ
ปรัชวาล สุกุมลนันทน์
จิราพร ตยุติวุฒิกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของสารสกัดกวาวเครือขาว (Pueraria candollei Grah. ex. Benth. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham) ที่มีต่อการสืบพันธุ์ของแมลงวันบ้าน (Musca domestica L.) โดยนำผงป่นแห้งจากหัวกวาวเครือขาวมาสกัดด้วยเอทธิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ นำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบความเป็นพิษของสารต่อหนอนโดยวิธีจุ่มและตัวเต็มวัยแมลงวันบ้านโดยวิธีฉีดพ่น พบว่า สารสกัดกวาวเครือขาวในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ไม่เป็นพิษต่อหนอนและตัวเต็มวัย  แมลงวันบ้าน แต่เมื่อนำสารสกัดกวาวเครือขาวที่ระดับ ความเข้มข้น 0.1, 1, 5, 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ผสมในอาหารให้หนอนแมลงวันบ้านกิน พบว่า เปอร์เซ็นต์การรอดของหนอน    แมลงวันบ้านเพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัดกวาวเครือขาวที่ได้รับเพิ่มขึ้น ส่วนการออกเป็นตัวเต็มวัยของดักแด้ คือ 84.15 ± 3.36, 75.56 ± 1.62, 82.72 ± 6.90, 82.97 ± 4.34, 88.82 ± 2.54 และ 89.98 ± 3.43 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำตัวเต็มวัยแมลงวันบ้านจากหนอนที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมกับสารสกัดกวาวเครือขาวทุกระดับความเข้มข้นมาเลี้ยงในอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย1:1 พบว่า ในวันแรกของการวางไข่ของแมลงวันบ้านจากกลุ่มทดลองที่ 10 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนไข่ต่อตัวเมียมากที่สุด แต่จำนวนไข่ทั้งหมดต่อตัวเมีย เปอร์เซ็นต์การฟักของไข่ เปอร์เซ็นต์การรอดของหนอนและเปอร์เซ็นต์การออกเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันบ้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ โตตระกูล. 2532. อิทธิพลของกวาวขาว Pueraria mirifica Airy Shaw and Suvatabandhu ต่อปริมาณการเติบโตและขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของด้วงหนอนนก Tenebrio obscurus. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
จีรเดช มโนสร้อย, สุดา เสาวคนธ์ และอรัญญา มโนสร้อย. 2543. กวาวเครือ (Kwao Krua). หน้า 71-83. ใน: อรัญญา มโนสร้อย, (ผู้รวบรวม), สัมมนาวิชาการและเทคโนโลยีชีวภาพเภสัชกรรมครั้งที่ 2 เรื่อง การวิจัยและพัมนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทย. 21-23 มิถุนายน 2543. โรงแรม ฮอลิเดย์การ์เดน, เชียงใหม่.
ชูชีพ คำเครือ, ชูเกียรติ บรรณทอง, อุดมลักษณ์ บุญเสริม, ถวัลย์ ตัณธีระพงศ์, วุฒิคุณ กรร่ำ, และยุทธนา สมิตะสิริ. 2534. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของกวาวเครือขาวต่อการสืบพันธุ์ของแมลงหวี่เปรียบเทียบกับยาเม็ดคุมกำเนิด. การประชุมทางวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 17. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
บัณฑูร พลอยสุวรรณ. 2531. ผลของกวาวขาว Pueraria mirifica Airy Shaw et Suvatabandhu ต่อ ยุงรำคาญ (Culex pipen fatigans Wiedemann). ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ยุทธนา สมิตะสิริ. 2541. ภาพรวมงานวิจัยและพัฒนากวาวเครือขาวตั้งแต่อดีต (พ.ศ.2524) ถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2541). เอกสารประชุมวิชาการเรื่องกวาวเครือ. สถาบันการแพทย์แผนไทย, กรมการแพทย์. กรุงเทพฯ.
สมศรี กันตรัตนากุล. 2535. สรีรวิทยาของแมลง. ภาควิชากีฏวิทยา, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนุสารสุนทร. 2474. ตำรายาหัวกวาวเครือขาว. โรงพิมพ์อุปะติพงศ์, เชียงใหม่.
อุทัยวรรณ ระดมสุข. 2535. ผลของสารสกัดกวาวเครือขาว (Pueraria mirifica Airy Shaw and Suvatabandhu) ต่อการสืบพันธุ์ของแมลงสาบอเมริกัน (Periplaneta americana Linn.). การค้นคว้าอิสระเชิงวิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
Davidson, R. H., and W. F. Lyon. 1987. Insect pests of farm, garden and orchard. 8 th ed. John Wiley  Sons, Inc. U.S.A.
Gullan, P. J., and P. S. Cranston. 1994. The Insect an Outline of Entomology. Chapman  Hall, London.
Pope, G. S., H. M. Grundy, H. E. H. Jone, and S. A. A. Tait. 1958. The Oestrogenic Substance (Miroestrol) from the Tuberous Roots of Pueraria mirifica .J. Endocrine. 17: 15.