ผลของแกมมา-โอไรซานอล ต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ในหนูถีบจักรเพศผู้

Main Article Content

ธวัชชัย แถวถาทำ
เพทาย พงษ์เพียจันทร์
พันทิพา พงษ์เพียจันทร์

บทคัดย่อ

คุณสมบัติที่เด่นของ แกมมา-โอไรซานอล คือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และโดยหลักเกณฑ์ของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงนำไปสู่การมีคุณสมบัติช่วยปรับปรุงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงต้องการพิสูจน์คุณสมบัติในข้อนี้ และหาระดับที่ส่งผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยทำการทดลองในหนูถีบจักร Institute of Cancer Research (IRC) เพศผู้อายุ 6 สัปดาห์ 32 ตัว เป็นตัวทดสอบ นำหนูมาสุ่มขังกรงละ 4 ตัว โดยแต่ละกลุ่ม (Treatment) ใช้หนู 2 กรง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด Completely Randomized Design (CRD) ทำการเสริม แกมมา-โอไรซานอลบริสุทธิ์ 4 ระดับคือ 0, 280, 800 และ 1340 มก/กก ในอาหารฐานที่ไม่มีรำละเอียดเป็นส่วนผสม ให้อาหาร และน้ำแบบเต็มที่ เมื่อหนูอายุได้ 7 สัปดาห์ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากส่วนหาง และฉีดกระตุ้นด้วย Bovine Serum Albumin (BSA) เข้าใต้ผิวหนัง 3 ครั้ง ในวันที่ 1, 14  และ 28 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immunization) เก็บเลือดหนูก่อนการกระตุ้นในวันที่ 1, 10, 14, 21, 28 และ 42 นำตัวอย่างเลือดไปปั่นแยกซีรัม เก็บรักษาที่อุณหภูมิ -20°C เพื่อรอการวัดระดับแอนติบอดีไตเตอร์ ของไอจีจี โดยวิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA)  พบว่าการเสริม แกมมา-โอไรซานอลบริสุทธิ์ ในอาหารฐาน มีผลทำให้หนูถีบจักรเพศผู้มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วย BSA ดีขึ้นโดยประเมินจาก ค่าเฉลี่ยล็อกฐานสองของ ไอจีจีไตเตอร์ พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับ การเสริม แกมมา-โอไรซานอลบริสุทธิ์ จะมีค่าเฉลี่ยล็อกฐานสองของ ไอจีจีไตเตอร์ สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเทียบกับหนูในกลุ่มควบคุม โดยค่าเฉลี่ย ล็อกฐานสองของ ไอจีจีไตเตอร์ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวันที่ 21-42 พบว่าหนู ในกลุ่มที่ได้รับ การเสริม แกมมา-โอไรซานอลบริสุทธิ์ มีแนวโน้มของค่าโดยรวมของเฉลี่ยล็อกฐานสองของ ไอจีจีไตเตอร์ สูงกว่าหนูในกลุ่มควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2541. สารอาหารกับภูมิคุ้มกันในสัตว์, วารสารธุรกิจอาหารสัตว์, ปีที่ 15, เล่มที่ 63, ประจำเดือน พฤศจิกายน–ธันวาคม, หน้า 15-41.
Chew, B. P. 1996. Importance of Antioxidant vitamins in immunity and health in animals. Journal of Animal Feed Science Technology. 59 : 103 - 114
Deckere, E. A. M., and O. Korver. 1996. Minor constituents of rice bran oil as functional foods. Copyright International Life Sciences Institute and Nutrition Foundation. Nutrition Reviews. Volume: 54. Issue: 11. Part: 2.
Hughes, D. A. 2001. Dietary carotenoids and human immune function. Journal of Nutrition 17: 823 – 827.
Karladee D., P. Pongpiachan, T. Teltathum and A. Gavilo. 2003. Accumulation of gamma oryzanol in purple rice grain. 2nd National Technical Seminar on Postharvest/Post Production Technology. 21 – 22 August at Jalearn Princess Konkaen Hotel.
Nanua, J. N., J. U. McGregor, and J. S. Godber. 2000. Influence of high oryzanol rice bran oil on the oxidative stability of whole milk powder. Journal of Dairy Science. 83 : 2426 - 2431.
Nockels, C. F. 1996. Antioxidants improve cattle immunity following stress. Journal of Animal Feed Science Technology. 62 : 59 – 68.
Sugano, M., and E. Tsuji. 1997. Rice bran oil and cholesterol metabolism. Journal of Nutrition. 127 : 521S - 524S.
Xu, Z., and J. S. Godber. 1999. Purification and identification of components of gamma oryzanol in rice bran oil. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 47 : 2724 -2728.
Xu, Z., N. Hua, J. S. Godber. 2001. Antioxidant activity of tocopherols, tocotrienols, and gamma oryzanol components from rice bran against cholesterol oxidation accelerated by 2,2'-azobis (2-methylpropionamidine) dihydrochloride. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 49 : 2077 - 2081.