การเจริญเติบโตและการสร้างอะคีนีต ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดที่ตรึงไนโตรเจนได้

Main Article Content

สมพร ชุนห์ลือชานนท์
เอกธิดา ไชยรินทร์
ชุติมณฑ์ สถิรพิพัฒน์กุล

บทคัดย่อ

เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการเกิดอะคีนีต (akinete) ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 6 สายพันธุ์ที่คัดเลือกได้จากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่แยกและรวบรวมได้จากดินบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก-เฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวนทั้งหมด 728  ตัวอย่าง โดยเลี้ยงในอาหารเหลว BG11 ที่ไม่เติมแหล่งไนโตรเจน วางไว้ใต้แสง 4,000 ลักซ์ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เก็บข้อมูลหลังการเลี้ยงสาหร่ายเป็นระยะ คือ 12, 24, 36, 48 ชั่วโมง และ 3, 6, 12, 18, 21 วัน พบว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทั้ง 6 สายพันธุ์ มีค่าเฉลี่ยมวลชีวภาพไม่แตกต่างกันทางสถิติโดยเพิ่มมากที่สุดที่ 18 วัน  และหลังจากนั้นจะเริ่มลดลง ในขณะที่ปริมาณคลอโรฟิลล์และโปรตีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาการเจริญเติบโตในสาหร่ายทั้ง 6 สายพันธุ์ โดย  Nostoc sp. 6CCR1-1  มีประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนและปริมาณเซลล์มากที่สุด (109 เซลล์ต่อมิลลิลิตร)  ที่ 12 วัน ขณะที่สายพันธุ์อื่นจะเพิ่มถึง 109 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ที่ 18-21 วัน    สำหรับการกระตุ้นให้เกิดอะคีนีตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน  Nostoc sp.  6CCR1-1 ที่เลี้ยงในอาหารเหลวที่มีปริมาณฟอสฟอรัส 15 มิลลิกรัมต่อลิตร  ภายใต้ความเข้มแสงประมาณ 4,000 ลักซ์ ทำให้อะคีนีตมีจำนวนเพิ่มขึ้น มากกว่าสาหร่ายที่เลี้ยงในอาหารที่มีฟอสฟอรัส 5 และ 10  มิลลิกรัมต่อลิตร  ภายใน 12 วัน ในขณะเดียวกันยังพบว่า เมื่อมีอะคีนีต เพิ่มขึ้นจำนวนของเฮเทอโรซีตต์ (heterocyst) ลดลง แสดงให้เห็นว่าความต้องการไนโตรเจนในการเจริญเติบโตของ  เซลล์ปรกติ (vegetative cell) น้อยลง  เมื่อเซลล์สาหร่ายพัฒนาไปเป็น อะคีนีต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประกิต สมัครค้า. 2535. ผลของอาหารเพาะเลี้ยงต่ออัตราการเจริญเติบโตและจำนวน เฮทเทอโรซีสต์ของ Anabaena spp. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พงเทพ อันตะริกานนท์, สุริยา สาสนรักกิจ และประเสริฐ อะมริต. 2536. ปุ๋ยชีวภาพจาก สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน. นสพ. กสิกร. ปีที่ 66 ฉบับที่ 4. กรกฏาคม-สิงหาคม.
ยุวดี พีรพรพิศาล. 2538. บทปฎิบัติการสาหร่ายวิทยา. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 46-49.
ศิริเพ็ญ ตรัยไชยาพร. 2537. สาหร่ายวิทยาประยุกต์. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 149-159.
ศรีวุฒิ เจนศิริพิกุล. 2535. ผลของการใส่ปุ๋ยชีวภาพอัลจีนัวต่อปริมาณของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ตรึงไนโตรเจนได้ในดินที่มี pH ต่างกัน และผลของปุ๋ยอัลจีนัวต่อนาข้าว. ปัญหาพิเศษ. ภาควิชาปฐพี-ศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพร ชุนห์ลือชานนท์, บรรหาร แตงฉ่ำ และจิรยุทธ ตันวีนุกุล. 2534. ผลของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินต่อการเพิ่มผลผลิตข้าว. งานวิจัยปุ๋ยชีวภาพ เล่มที่ 1. กลุ่มงานวิจัย จุลินทรีย์ดิน กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร. หน้า 60-78.
อภิชาต สุขสว่าง. 2544. พลวัตประชากรสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ตรึงไนโตรเจนได้ในระบบนิเวศที่ต่างกัน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
อานนท์ สุขสวัสดิ์, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, พนัส สุวรรณธาดา, ดิเรก อินตาพรม และ บุญโฮมชำนาญกุล. 2540. การศึกษาการใช้สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นปุ๋ยชีวภาพในนาข้าว. เอกสารการสัมมนาทาง-วิชาการเรื่อง การพัฒนาข้าวและธัญพืชเมืองหนาวครั้งที่ 9 ณ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว. กรมวิชาการเกษตร.หน้า 46-53.
เอกธิดา ไชยรินทร์. 2544. การประเมินการดูดใช้ไนโตรเจน-15 ที่ได้จากสาหร่ายสีเขียวแกมเงิน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Atlas, R. M. 1993. Handbook of microbiological media. CRC. Press. U.S.A.
Baker, P. D. and D. Bellifemine. 2000. Environmental influences on akinete germination of Anabaena
circinalis and implications for management of cyanobacterial bloom. Hydrobiologia. 427: 65-73.
Grant, I.F., P.A. Roger and I. Watanabe. 1985.Effect of grazer regulation and algal inoculation on photodependent nitrogen fixation in a wetland rice field. Biol. Fert. Soil. 1:61-72.
Hori, K., S. Ishii, G. Ikeda, J. Okamoto, Y. Tanji, C. Weerapashphong and H. Unno. 2001. Behavior of filamentous cyanobacterium Anabaena spp. in water column and its cellular characteristics. Biochem. Eng. J. 10:217-225.
Lowry, O.H., N.J. Rosebrough, A.L. Farr and R.J. Randall. 1951. Protein measurement in the folin phenol reagent. Journal of Biological Chemistry 193:256-275.
Mahendranath T.R. and R.N. Pillai. 1996. Effect of blue-green algae at vary level of nitrogen on the growth, yield attributes and yield of lowland rice. Soil Bio. Biochem. 27:450-510.
Samal K.C. and S. Kannaiyan. 1996. Use of immobilized algae as biofertilizer in rice. Biotechnology unit, Dept. of Agricutrural Microboilogy. Tamil Nadu Agricultural University. India. p.5.
Wintermans, J.F.G.M. and A. Demotes. 1965. Spectrophotometric characteristics of chlorophyll a, b and their pheophytins in ethanol. Biochemica et Biophysica Acta. 109:440-453.