อุตสาหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ: โอกาสทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน

ใครมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ในฤดูหนาว หรือมีโอกาสเข้าเยี่ยมชมสถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงจะเห็นถึงความสวยงามของดอกไม้ที่ปลูกในเมืองไทย และพาลให้คิดเลยไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพของไม้ดอกและไม้ใบในเมืองไทย ซึ่งมีความสวยงามทั้งรูปทรงลักษณะดอกสีสัน หรือแม้กระทั่งกลิ่นรวมทั้งการกระจายตัวของฤดูที่จะออกดอกได้ตลอดปี พืชเหล่านี้ทั้งไม้ดอกและไม้ใบจึงเป็นกลุ่มพืชที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเป็น “ อุตสาหกรรมไม้ดอก”

แต่จากข้อมูลรายงานพบว่าในช่วงปี 2541-2545 มีการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับจากประเทศไทยเพียงปีละ 262,087 เมตริกตันคิดเป็นมูลค่า 1,894.92 ล้านบาทต่อปีเท่านั้นจัดเป็นอันดับที่ 16 ของโลกและมีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดโลกน้อยกว่าร้อยละ 1 (0.64-0.84%) เท่านั้นโดยมีกลุ่มพืชส่งออกมากที่สุดคือต้นกล้วยไม้และกล้วยไม้ตัดดอกรองลงมา ได้แก่ ปทุมมาเบญจมาศกุหลาบและหน้าวัวในขณะที่ในช่วงเวลาดังกล่าวนักวิจัยไทยทำการศึกษาวิจัยไม้ดอกรวม 1,396 โครงการจากหน่วยงานวิจัย 30 หน่วยงานโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวในกล้วยไม้

ผู้บริโภคชอบพืชกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับในด้านของสีและรูปทรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความด่างความแปลกใหม่ของสีใบ สีดอก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการแสดงออกของยีนส์หรือ พันธุกรรมอันเกิดจากการกลายพันธุ์หรือการผสมข้ามพันธุ์ ถ้าพิจารณาในประเด็นนี้ จะเห็นได้ว่าเครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นที่นิยมศึกษาวิจัยในสมัยปัจจุบันน่าจะถูกนำมาใช้ในเชิงเศรษฐกิจได้ดี สามารถช่วยย่นระยะเวลาศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ใหม่ให้กับประเทศได้ ทั้งนี้โดยใช้ควบคู่ไปกับการผสมพันธุ์แบบเดิมดังที่เราเคยประสบผลสำเร็จอย่างดีมาแล้วในกล้วยไม้

การดำเนินการพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นตามศักยภาพที่ควรจะเป็น แต่การพัฒนาพันธุ์ให้ได้พันธุ์ใบด่าง ดอกใหญ่ ดอกดก เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ระบบการขยายพันธุ์ การผลิตการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาด ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาอย่างมืออาชีพควบคู่กันไปด้วยซึ่งความร่วมมือกันของนักวิชาการเกษตรกรภาคเอกชนตลอดจนภาครัฐที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายทิศทางและระดมทรัพยากรมาทำงานในทิศทางเดียวกันน่าจะทำให้เราเห็นผลการพัฒนาเร็วขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เครือข่ายของเราจะเกิดขึ้นได้อย่างไร น่าจะเป็นหัวข้อที่เราควรวิจัยตนเองเหมือนกันนะ

เผยแพร่แล้ว: 2020-09-24

การเจริญเติบโตและการสร้างอะคีนีต ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดที่ตรึงไนโตรเจนได้

สมพร ชุนห์ลือชานนท์ , เอกธิดา ไชยรินทร์, ชุติมณฑ์ สถิรพิพัฒน์กุล

204-214

ผลของพัมมิซต่อผลผลิตและคุณภาพฝรั่ง

บุญคง ก่าซัวเฮ่อ , โสระยา ร่วมรังษี , ตระกูล ตันสุวรรณ

243-249

ค่าฮีมาโตคริทของแกะหลังการเจาะเลือดในปริมาณสูง

ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร , อภิชาติ ศรีภัย , สุมาลี วงศ์รักษ์ , ขวัญชาติ อุดมศรี

272-277