ผลของอายุฝักต่อการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

ปิยะนุช ปิยะตระกูล
พิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์

บทคัดย่อ

การศึกษาอายุฝักที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรในสภาพปลอดเชื้อ  โดยนำฝักอายุ 3, 4, 5, 6 และ 7 สัปดาห์ หลังการผสมเกสร มาเพาะในอาหารเหลวสูตร Vacin and Went (1949) ดัดแปลงหรือ CMU1 ในสัปดาห์แรกพบว่า เมล็ดจากฝักอายุ 3 สัปดาห์ ยังเห็นรูปร่างคัพภะไม่ชัดเจน ในขณะที่เมล็ดจากฝักอายุ 4, 5, 6 และ 7 สัปดาห์ เห็นคัพภะเป็นรูปวงรี หลังจากเพาะเมล็ดนาน 20 สัปดาห์ พบว่าขนาดของคัพภะ จากฝักอายุมาก (7 และ 6 สัปดาห์) มีขนาดใหญ่กว่า คัพภะจากฝักอายุน้อย (5, 4 และ 3 สัปดาห์) อย่างมีนัยสำคัญ   ไม่พบการงอกของเมล็ดจากฝักอายุ 3 และ 4 สัปดาห์   ในขณะที่เมล็ดจากฝักอายุ 7 สัปดาห์ งอกได้เร็ว และให้เปอร์เซนต์งอกมากที่สุด (2.46 %, สัปดาห์ที่ 12 หลังการเพาะเมล็ด) รวมทั้งยังให้โปรโตคอร์มใหญ่กว่าจากเมล็ดของฝักอายุ 5 และ 6 สัปดาห์   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิพาพร ชัยทนุ. 2542. การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเมล็ดและพัฒนาต้นอ่อนของกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรและนางอั้วสาคริก. วิทยา-นิพนธ์ปริญญาโท. ภาควิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 60 น.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2546. ดอกกล้วยไม้สด : ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรายเดือน. ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา http://www.oae.go.th(20 มกราคม 2547).
อบฉันท์ ไทยทอง. 2543. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพฯ. 461 น.
Nagashima, T. 1989. Embryogenesis, seed formation and immature seed germination in vitro in Ponerorchis graminifolia Reichb. f. J. Japanese Soc. Hort. Sci. 58 : 187-194.
Rasmussen, H. N. 1995. Terrestrial Orchid from Seed to Mycotrophic Plant. Cambridge University Press. New York. 444 p.
Seidenfaden, G. 1977. Orchid Genera in Thailand V. Udgivet af dansk botanisk forening, København. 149 p.
Van Der Kinderen, G. . 1987. Abscisic acid in terrestrial orchid seed : a possible impact on their germination . Lindleyana 2 : 84-87.
Wagner, J. and A. Hansal. 1995. In vitro seed germination of Cypripedium calceolus L. at various embryogenic stages. Hort. Abst. 65 : 552.