การเลี้ยงไก่เบตงในหมู่บ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย: การศึกษาลักษณะปรากฏการเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์ซาก และลักษณะการผลิตไข่ของไก่เบตง

Main Article Content

ปิ่น จันจุฬา
วรวิทย์ วณิชาภิชาติ
ธำรง ทองจำรูญ
สมศักดิ์ เหล่าเจริญสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการทดลองเพื่อศึกษาลักษณะปรากฏ การเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์ซากและสมรรถนะการให้ไข่ของไก่เบตงจำนวน 110 ตัว ตั้งแต่อายุ 8-52 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า ไก่เบตงเพศผู้และเพศเมียมีน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ 2.11+0.28(50) - 2.35+0.19(50) และ 1.69+0.23(50) - 1.78+0.23(50) กิโลกรัม โดยขนาดรูปร่างเพิ่มขึ้นในช่วง 8-16 สัปดาห์ มากกว่าระยะอื่น เปอร์เซ็นต์ซากอุ่น 82.07 และ 78.77 % ตามลำดับ เพศเมียเริ่มให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 23 สัปดาห์ ให้ไข่ 13+4.50(20) ฟอง/ชุด น้ำหนักไข่ฟองแรกและน้ำหนักไข่เฉลี่ย 38.50+0.23(20) และ 47.77+3.37(20) กรัม/ฟอง ตามลำดับ มีค่าคะแนนสีไข่แดงและความหนาเปลือกไข่ 9.53+1.16(20) และ 0.33+0.03(20) ตามลำดับ ส่วนลักษณะสีขนไก่ เบตงมีขนปกคลุมสีเหลืองอ่อน และขนงอกช้าในช่วงอายุ 0-4 สัปดาห์ ที่บริเวณปีกและหางมีขนประเภท primary feather และ secondary feather น้อยมากและมีลักษณะสั้นแคบกว่าไก่พื้นเมือง เมื่อโตเป็นหนุ่มสาวไม่มีการพัฒนาของขนหาง มีเฉพาะขนปีกรอง 4-8 ขน ส่วนตัวผู้จะมีขนสร้อยสีเหลืองแดง ส่วนตัวเมียมีสีเหลืองอ่อน มีผิวหนังค่อนข้างสีเหลือง และหงอนเป็นชนิดหงอนจักร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวี อบอุ่น และ อรพิน เวชชบุษกร. 2537. การศึกษาเปรียบ เทียบลักษณะต่างๆ ในไก่เบตง, ลูกผสมเบตง - โรดฯ และเบตง-บาร์. โครงการวิจัยลำดับที่ 36-0406-040 สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์.
นิรัตน์ กองรัตนานันท์ และ รัตนา โชติสังกาศ. 2539. การ ศึกษาการเจริญเติบโต และผลผลิตซากไก่เบตงเปรียบเทียบกับไก่พื้นเมือง และไก่ลูกผสมเบตง x พื้นเมือง. วิทยสารเกษตรศาสตร์ (วิทย.).30:312-321.
บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, อัมพล ห่อนาค และ ทวีสุข แสนสุข. 2526. การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเลี้ยงไก่กระทง ไก่ชนและลูกผสมในแง่การผลิตเนื้อ, น. 19-21. ใน รายงานการประชุมสัมมนาการเกษตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรื่องไก่พื้นเมือง ครั้งที่ 1. สำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.
ปิ่น จันจุฬา. 2541. ไก่เบตง: ไก่พื้นเมืองที่น่าสนใจ. แก่นเกษตร. 26:111-116.
รัตนา โชติสังกาศ สุภาพร อิสริโยดม และ นิรัตน์ กองรัตนานันท์. 2537. การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการให้ไข่และส่วนประกอบฟองไข่ของไก่พื้นเมืองและไก่ลูกผสมทางการค้า. ว. เกษตรศาสตร์ (วิทย.). 28:38-48.
รัตนา โชติสังกาศ และ นิรัตน์ กองรัตนานันท์. 2539. ผล ของอายุเมื่อเริ่มจำกัดแสงต่อลักษณะการเจริญเติบ โตและการให้ไข่ของไก่พื้นเมือง. ว. เกษตรศาสตร์ (วิทย.). 30:27-39.
วรวิทย์ สิริพลวัฒน์, สุชาติ สงวนพันธุ์ และ กระจ่าง วิสุท ธารมณ์. 2531. การศึกษาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเซี้ยงไฮ้ และลูกผสมพื้นบ้านเซี้ยงไฮ้. น. 28. ใน ราย งานการประชุมสัมมนาการเกษตรภาคะวันออกเฉียงเหนือเรื่องไก่พื้นเมือง ครั้งที่ 2, 17-19 สิงหาคม 2531. สำนักงานการเกษตรภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น.
สุธา วัฒนสิทธิ์, วรวิทย์ วณิชาภิชาติ และ เสาวนิต คูประเสริฐ 2535. รายงานการสำรวจพันธุ์ไก่พื้นเมืองในภาคใต้. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุภาพร อิสริโยดม, นิรัตน์ กองรัตนานันท์ และ รัตนา โชติสังกาศ. 2534. การเจริญเติบโตและส่วนประกอบ ซากของไก่พื้นเมืองเปรียบเทียบกับของไก่พันธุ์ แท้บางพันธุ์. วิทยสารเกษตรศาสตร์ (วิทย.). 25:172-183.
เสาวนิต คูประเสริฐ จารุรัตน์ ชินาจริยวงศ์ สุธา วัฒนสิทธิ์ และ วรวิทย์ วณิชาภิชาติ. 2544. การใช้กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันแทนข้าวโพดในอาหารไก่ไข่ 2. ระยะให้ไข่. ว. สงขลานครินทร์ (วิทย.). 23:343-350.
American Poultry Association. 1985. The American Standard of Perfection. American Poultry Association, Inc. Troy, New York. 336p.
Chanjula, P. and K. Pattamarakha. 2002. Betong Chicken Raising in Southern Thailand-A Preliminary Survey. J. ISSAAS. 8:14-24.
Deaton, J.W., L.F. Kubena, T.C. Chen and F.N. Reece. 1974. Factors influencing the quality of abdominal fat in broilers. 2. Cage versus floor rearing. Poultry Sci. 53:574-576.
Eitan, Y. and M. Soller. 1991. Two-way selection for threshold body weight at first egg in broiler strain females. 2. Effect of supplemental light on weight and age at first egg. Poultry Sci. 70:2017-2022.
Eitan, Y. and M. Soller. 1995. Two-way selection for threshold body weight at first egg in broiler strain females. 5. Replication of results in a two-generation selection experiment. Poultry Sci. 74:1561-1565.
Fletcher, D.L., W.M. Britton, A.P. Rahn and S.I. Savage. 1981. The influence of layer flock age on egg component yields and solids content. Poultry Sci. 60:983-987.
Horst, P. 1989. Native fowl as a reservoir for genomes and major genes. Archiv Fur Geflu glekunde. 53:93-101.
Leenstra, F.R. 1986. Effect of age, sex, genotype and environment on fat deposition in broiler chickens- A review. World’s Poult. Sci. J. 42:12-25.
Marion, W.W., A.W. Nordskog, H.S. Tolman and R.H. Forsythe. 1964. Egg composition as influenced by breeding, egg size, age and season. Poultry Sci. 43:255-264.
SAS. 1990. SAS User’s Guide: Statistics Version, 6.06 Edition. SAS Institute Inc., Cary, NC.
Soller, M., Y. Eilan and T. Brody. 1984. Effect of diet and early quantitative feed restriction on the minimum weight requirement for onset of sexual maturity in white rock broiler breeds. Poultry Sci. 63:1255-1261.
Tai, C. and C.H. Huang. 1989. Publications on the native poultry of East and Southeast Asia. The Taiwan Livestock Research Institute (TLRL), Hsinhua, Tainan, Republic of China on Taiwan. p 127.
Tolman, H.S. and T.S. Yao. 1960. Effect of crossbreeding on yolk size in chicken eggs. Poultry Sci. 39:1300-1301.