ผลของขนาดหัวต่อการเจริญเติบโต ปริมาณแป้งและน้ำตาล ของออนิโธกาลัม

Main Article Content

จารุฉัตร เขนยทิพย์
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของขนาดหัวต่อการเจริญเติบโต ปริมาณแป้งและน้ำตาลของออนิโธกาลัม ดำเนินการโดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลอง  การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของขนาดหัวพันธุ์ที่มีต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของออนิโธกาลัมชนิด arabicum  โดยแบ่งขนาดหัวออกเป็น 6 ขนาด (กรรมวิธี) ได้แก่  เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 เซนติเมตร, เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 5 เซนติเมตร, เส้นผ่านศูนย์กลาง   3 – 4 เซนติเมตร, เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3 เซนติเมตร, เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 2 เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง น้อยกว่า 1 เซนติเมตร จากการทดลองพบว่า ขนาดหัวที่แตกต่างกันมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอก โดยต้นที่ปลูกจากหัวขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 5 เซนติเมตร) มีการเจริญเติบโตและคุณภาพของดอกดีกว่าต้นที่ปลูกจากหัวขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 – 5 เซนติเมตร)   ทั้งในด้านความสูง , จำนวนใบ , ความยาวก้านช่อดอก และจำนวนดอกย่อยต่อช่อ  แต่หัวขนาดใหญ่ใช้เวลาในการออกดอกนานกว่าหัวขนาดเล็ก สำหรับหัวพันธุ์ขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 – 3 เซนติเมตร มีแต่การเจริญเติบโตทางใบเท่านั้น  ไม่สามารถสร้างช่อดอกได้


การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของขนาดหัวต่อการสะสมปริมาณน้ำตาลและแป้ง โดยปลูกหัวออนิโธกาลัมขนาดต่างกัน 3 ขนาด คือ เกรด J เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 เซนติเมตร, เกรด A เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 5 เซนติเมตร และเกรด B เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 4 เซนติเมตร จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างพืชในระยะการเจริญเติบโตที่ต่างกัน คือ 1. ระยะเริ่มปลูก 2. ระยะที่มีการเจริญเติบโตทางใบ (อายุ 4 สัปดาห์หลังปลูก) 3. ระยะที่มีการเจริญเติบโตทางดอก (อายุ 17 สัปดาห์หลังปลูก)  4. ระยะพักตัว จากการทดลอง พบว่า หัวขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำตาลและปริมาณแป้งมากกว่าขนาดเล็ก ส่วนในใบ ราก และช่อดอก มีความเข้มข้นของน้ำตาลและแป้งน้อยกว่าในหัว เมื่อเริ่มการเจริญเติบโตปริมาณน้ำตาลและแป้งในหัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และในช่วงที่พืชมีการเจริญเติบโตของดอก ปริมาณน้ำตาลในหัวเพิ่มขึ้น และเมื่อเข้าสู่ระยะพักตัว ปริมาณน้ำตาลในหัวลดลง แต่ปริมาณแป้งมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉันทนา สุวรรณธาดา. 2533. ไม้ดอกประเภทหัว. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 153 น.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2539. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 126 น.
พิกุล สุรพรไพบูลย์. 2539. การสร้างหัวของว่านมหาลาภ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 175 น.
วิชิต สุวรรณปรีชา. 2532. ไม้ดอกเมืองหนาว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) สาขาพืช สวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 63 น.
สนั่น ขำเลิศ. 2522. หลักการขยายพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ. 374 น.
โสระยา ร่วมรังษี. 2543. เอกสารประกอบคำสอนวิชาสรีร-วิทยาไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 75 น.
สุพจน์ เพ็ชรบุรี. 2537. การศึกษาขนาดของหัวพันธุ์ การเก็บรักษาหัวพันธุ์และการปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวดอกว่านมหาลาภ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) สาขา พืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 117 น.
สุทธินันท์ ประสาธน์สุวรรณ์. 2543. การใช้แป้งและน้ำตาลของว่านมหาลาภขณะเจริญเติบโต. ปัญหาพิเศษ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 25 น.
Bewley, J. D. and M. Black. 1983. Physiology and Biochemistry of Seeds. Springer Verlag Berlin. 306 p.
Botanus.com. 2002. [Online]. Available. http://www.botanus.com/spring_2002/spring_2002_atalogue/detial_pages/37177.html.(22 July 2002)
Bulb.com.1998. [Online]. Available. http://www.Bulb. com/summerguide 98/Ornithogalum.asp. (22 July 2002)
Doerflinger, F. 1973. The Bulb Book. David & Charles (Holdings) Ltd., Newton. 309 p.
Dubois, M., K. A. Gilles, J. K. Hamilton, P. A. Rebers and F. Smith. 1956. Clorimetric method for determination of sugars and related substances. Anal. Chem. 28 : 350-356.
JSPN. 1990. Experimental methods in plant nutrition (Japanese Society for Soil Science and Plant Nutrition, eds.) Hakuyu-sha, Tokyo. 204-217.
Kako, S. 1999. Growth and flowering of Ornithogalum saundersiae Bak. Hort. Sci. 81(1) : 57-70.
Leoplod, A. C. and P. E. Kriedemann. 1975. Plant Growth and Development. Mcgraw-Hill Publishing Co., New Delhi. 545 p.
Mastalerz, J. W. 1977. The Greenhouse Environment. John Wiley & Sons, New York. 629 p.
Rees, A. R. 1966. The physiology of ornamental bulbous plants. Bot. Rev. 32 : 1-23.
Rees, A. R. 1972. The Growth of Bulb. Academic Press Inc., London. 311 p.
Rees, A. R. and J. B. Briggs. 1974. Optimum planting densities for tulips grown in ridges in the field. Hort. Sci. 49 : 143 – 145.
Roh, M. S. and A. W. Meerow. 1992. Flowering of Eucrosia influenced by bulb size and watering frequency. Hort. Sci. 27(11) : 1,227.
Ruamrungsri, S., S. Ruamrungsri and T. Ikarashi. 1999. Carbohydrate metabolism in Narcissus. of Hort. Sci. & Biotech. 74(3) : 395 – 400.