การควบคุม <I>Macrophomina phaseolina </I> สาเหตุโรคโคนเน่าดำในระยะกล้าของถั่วเหลืองโดยใช้พืชสมุนไพรและสารกำจัดรา

Main Article Content

มยุรี ปละอุด
สมบัติ ศรีชูวงศ์

บทคัดย่อ

ตรวจหาเชื้อรา   Macrophomina   phaseolina   ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง  2  พันธุ์  คือ  พันธุ์สจ. 5  และพันธุ์ชม. 2 ด้วยวิธีเพาะบนกระดาษชื้น  (Blotter  Method) พบเชื้อรา M. phaseolina  จำนวน 3  Isolates โดย M.   phaseolina   Isolate  1  สามารถทำให้เกิดโรครุนแรงที่สุดในถั่วเหลืองทั้ง  2  พันธุ์  จากการทดสอบประสิทธิภาพของสมุนไพร  5  ชนิด  ได้แก่  อบเชย  ว่านน้ำ  ขมิ้นเหลือง ทองพันชั่ง   และขิงในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุ  พบว่า ทองพันชั่งที่ความเข้มข้น 50,000 ppm. สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ดีกว่าการใช้พืชสมุนไพรอื่นๆ สำหรับประสิทธิภาพของสารกำจัดรา  3  ชนิด  ได้แก่  Dithane  M-45, Benlate OD   และ Thysan  ต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรค  ผลปรากฎว่า  Benlate  OD  สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุได้ดีที่สุด  และเมื่อนำทองพันชั่งและ  Benlate  OD  มาทดสอบเปรียบเทียบในการควบคุมโรคโคนเน่าดำในระยะกล้าของถั่วเหลือง  พบว่าสารแต่ละชนิดช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอก ลดอาการผิดปกติเนื่องจากโรคในระยะกล้ารวมทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นกล้าโดยสารทั้งสองชนิดให้ผลแตกต่างจากชุดควบคุม  (ปลูกเชื้อ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจรศักดิ์ ตระกูลพัว. 2539. ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพร แปดชนิดต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชและโรคผิวหนังที่คัดเลือก.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 270 หน้า.
มัทนา ศรีหัตกรรม, จรัส กิจบำรุง และพรพุฒิ ประเสริฐกุล. 2539. การเจริญของเชื้อรา Macrophomina phaseolina ในส่วนต่างๆ ของพืชภายหลังการติดเชื้อราของราก. วารสารวิชาการเกษตร 14 (3) : 183-193.
สมบัติ ศรีชูวงศ์. 2526. โรคพืชไร่. ภาควิชาโรคพืช, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 200 หน้า.
สุดฤดี ประเทืองวงศ์, แสงเดือน สายแสงทอง, อัครเดช ฝาเรือน และ ประชุม จุฑาวรรธนะ. 2539. โรคและโรคระบาดชนิดใหม่ของถั่วเหลืองในเขตภาคกลาง ระหว่างปี 2537-2539. รายงานการประชุมทางวิชาการถั่วเหลืองแห่งชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 3-6 กันยายน 2539 ณ โรงแรมดิเอมเพลส จ.เชียงใหม่.หน้า 242-258.
ศรีสุข พูนผลกล และอุดม ภู่พิพัฒน์. 2521.โรคของถั่วเหลืองในประเทศไทย.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 12 (2) : 143-153.
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์. 2535. Macrophomina phaseolina (Tassi) Goid. เชื้อราสาเหตุโรคต้นเน่าของปอกระเจา. วารสารโรคพืช 10 (3-4) : 57-64.
Ahmed, N. and K. Suttana. 1984. Fungitoxic effect of garlic on treatment of jute seed. Bangladesh J. Bot. 13 : 130 – 136.
Ali, M.I., M.A. Dogar and R. Ahmed. 1995. Seed – borne fungi of soybean (Glycine max (L.) Merrill) and their chemical control. Pakistan Journal of Phytopathology 7(2):160-162. (Abstr.).
Garza, L. and J.G. Cruz. 1991. Effect of fertilizers and chemical control of disease on yield and quality of soybean in Ias Huastecas, Tamaulipas. Revista Mexicana de Fitopathologia 9(2) : 34-143.(Abstr.).
ISTA. 1976. International rule for seed testing. International Seed Testing Association. Seed Science and Technology 4 : 3-177.
Mittal, R.K., H.J., Hansen and K. Thomsen. 1998. Seed mycoflora of Eugenia dy senterica and its effect on germination and storability. In IUFRO Seed Symposium 1998 “Recalcitrant seeds” : Proceedings of the Conference, Kuala Lunpur, Malaysia, 12-15 October 1998. (Abstr.).
Winberg, M.R. 1996. Charcoal rot of soybean: Diagnosis and control. Plant Pathology 64(6) : 845-851.