ค่าฮีมาโตคริทของแกะหลังการเจาะเลือดในปริมาณสูง

Main Article Content

ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร
อภิชาติ ศรีภัย
สุมาลี วงศ์รักษ์
ขวัญชาติ อุดมศรี

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ของการทดลองครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพร่างกายและค่าฮีมาโตคริทของแกะ หลังการเจาะเลือดในปริมาณสูง แกะจากภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีน้ำหนักเฉลี่ย 31.14  กิโลกรัม (n=46) ถูกสุ่มเพื่อเจาะเลือดในปริมาณ 150 มิลลิลิตรต่อตัว  ตรวจวัดค่าฮีมาโตคริทวันที่ 1, 2, 3, 5, 8, 13, 16 และ 22 หลังเจาะเลือด การศึกษาครั้งนี้ทำใน 3 ช่วงเวลา คือ เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2545 เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2546 และเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2546  ผลการศึกษาพบว่า การเจาะเลือดปริมาณสูง ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำ-วันของแกะ ส่วนผลจากค่าฮีมาโตคริทแสดงให้เห็นว่า ค่าฮีมาโตคริทกลับสู่ภาวะปกติภายใน 5-8 วันหลังการเจาะเลือด อย่างไรก็ตามสภาพการกลับคืนสู่ภาวะปกตินี้อาจผันแปรขึ้นอยู่กับสภาพการจัดการและอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร, อภิชาติ ศรีภัย, สุรภี ทองหลอม และ ยงยุทธ ศรีวิชัย. 2546. ผลการรักษาแพะแกะที่ป่วยด้วยโรคพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหาร. วารสารเกษตร 19 (1) : 86 –92.
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. 2545. โลหิตมีคุณภาพ. http//update,se-ed.com/174/blood.htm.
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด. 2545. สถิติจำนวนแกะในประเทศไทยแสดงรายภาคปี 2536-2545.
Anand, C., R. Gordon, H. Shaw, K. Fonseca and M. Olsen. 2000. Pig and goat blood as substitutes for sheep blood in blood supplemented agar media. J. Clin. Microbiol. 38(2): 591 – 594.
Benjamin, M.M. 1972. Outline of Veterinary Clinical Pathology. 2nd ed., The Iowa State University Press, Iowa. 186 p.
Goossens, B., S. Osaer, S. Kora and M. Ndao. 1998. Haematological changes and antibody response in trypanotolerant sheep and goats following experimental Trypanosoma congolene infection. Vet. Parasitol. 79: 283-297.
Kirton, A.H. 1988. Characteristics of goat meat including carcass quality and method of slaughter. In : Goat Meat Production in Asia. C. Devendra (ed.). IDRC, Ottawa. pp. 87 – 99.