ผลตอบแทนการผลิตข้าวจากนาที่มีการลดการปล่อยก๊าซมีเทน

Main Article Content

พัชรี แสนจันทร์
ชนะ ศรีสมภาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตข้าวจากนาที่มีการลดการปล่อยก๊าซมีเทน โดยเน้นที่การจัดการน้ำและชนิดปุ๋ยเคมี ดัชนีที่ศึกษาได้แก่ปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมด(TME) ปริมาณก๊าซมีเทนที่ปล่อยต่อหน่วยผลผลิตข้าว(MPG)  ผลผลิตข้าว และผลตอบแทนการลงทุน โดยปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ด้วยวิธีหว่านน้ำตมและปักดำ  ผลการทดลองพบว่า การจัดการน้ำในนามีอิทธิพลต่อการปล่อยก๊าซมีเทนมากกว่าชนิดของปุ๋ยแต่งหน้า  นาหว่านที่มีการขังน้ำตลอดฤดูปล่อย TME 17.71 - 22.22 g.m-2 ในขณะที่นาหว่านที่มีการปล่อยให้น้ำในนาแห้งเองหรือคายระเหยจนดินแห้งบางช่วงปล่อย TME น้อยลงอยู่ในช่วง 6.73-11.62 g.m-2 ในนาหว่านการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตและ  ยูเรียให้ผลทั้งลดและเพิ่มการปล่อยก๊าซมีเทน ในนาดำแม้ว่าจะมีการปล่อยให้น้ำในนาแห้งบางช่วงพบว่าปล่อย TME 12.13– 21.73 g.m-2  ซึ่งมากกว่าของนาหว่านที่จัดการน้ำแบบเดียวกัน   ในนาหว่านการปล่อยให้น้ำในนาแห้งเป็นบางช่วงลด TME ลง 43-69 % เมื่อเทียบกับนาหว่านที่ขังน้ำ    การทำนาหว่านที่มีการปล่อยให้น้ำในนาแห้งเป็นบางช่วงลด TME ลง 18-69%  เมื่อเทียบกับนาดำที่จัดการน้ำในลักษณะเดียวกัน  การทำนาดำที่มีการปล่อยให้น้ำในนาแห้งเป็นบางช่วงสามารถให้ผลผลิตสูง 1,163-1,185 kg.rai-1 โดยแปลงที่ได้รับยูเรียเป็นปุ๋ยแต่งหน้า อัตรา 7 kg.rai-1 ให้ผลผลิตสูงสุด 1,185 kg.rai-1 นาหว่านที่มีการขังน้ำตลอดฤดูและที่มีการปล่อยให้น้ำในนาแห้งบางช่วงให้ผลผลิตน้อยกว่าอยู่ในช่วง 769-815 kg.rai-1 ชนิดของปุ๋ยแต่งหน้าไม่มีผลทำให้ผลผลิตข้าวของนาหว่านและนาดำแตกต่างกันทางสถิติ  


ในนาหว่านที่มีน้ำขังตลอดฤดูปลูกมี MPG อยู่ในช่วง 34.8-44.6 gCH4.kg-1grain และถ้ามีการปล่อยให้น้ำแห้งบางช่วงค่า MPG ลดลงอยู่ในช่วง 13.78-22.90 gCH4.kg-1grain  โดยที่ให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วง 781-815 kg. rai-1  นั้นคือการทำนาหว่านที่จัดการปล่อยให้น้ำแห้งบางช่วงนอกจากจะให้ผลผลิตดีแล้วยังปล่อยก๊าซมีเทนต่ำด้วย    ในนาดำที่มีการปล่อยให้น้ำในนาแห้งเป็นบางช่วงมี MPG อยู่ในช่วง 16.38-29.75 gCH4.kg-1 grain ให้ผลผลิตสูงที่สุดในการทดลอง 1,163 - 1,185 kg.rai-1  ซึ่งมากกว่าของนาหว่านที่มีการจัดการน้ำในลักษณะเดียวกันแต่มีค่า TME สูงกว่าของนาหว่าน   นั่นคือนาดำให้ผลผลิตสูงกว่านาหว่านแต่ปล่อยก๊าซมีเทนสูงกว่านาหว่านด้วย    การทำนาหว่านที่จัดการปล่อยให้น้ำแห้งบางช่วงแม้ว่าจะให้ผลผลิตไม่สูงที่สุดในการทดลองแต่ปล่อยก๊าซมีเทนต่ำกว่าและขณะเดียวกันในเชิงธุรกิจการทำนาหว่านให้ผลตอบแทนดีกว่าการทำนาดำอย่างชัดเจนเนื่องจากลงทุนต่ำกว่า จึงสมควรถูกคัดเลือกให้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมและควรทดสอบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บริบูรณ์ สัมฤทธิ์ และ สงกรานต์ จิตรากร. 2535. การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาหลักด้านเทคโนโลยีของข้าวในประเทศไทย สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ลัดดาวัลย์ กรรณนุช และ นิวัติ เจริญศิลป์. 2543. การปลด ปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวและแนวทางเพื่อลด ปริมาณการปลดปล่อย. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชา การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
นิวัฒน์ นภีรงค์ และ อานันท์ ผลวัฒนะ. 2543. อัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตข้าวเมื่อปลูกโดยวิธีไม่ไถพรวน. การสัมมนาวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาวภาคเหนือ ประจำปี2543 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2544. ณ โรงแรมเซ็นทรัลแม่สอดฮิลล์ จ.ตาก ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวแพร่และสถานีทดลองเครือข่าย สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชา การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
พัชรี แสนจันทร์. 2540. เกษตรชลประทาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 335 หน้า
พัชรี แสนจันทร์ ดวงสมร ตุลาพิทักษ์ เทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์ และ ศุภชัย ตั้งชูพงศ์. 2545. ปริมาณการปลด ปล่อย CH4จากนาข้าวเกษตรกรในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 66 หน้า.
ศูนย์สถิติการเกษตร.2534. เรื่องหน้ารู้ทางการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สมจิต คันธสุวรรณ สุวัฒน์ เจียระคงมั่น สุนทรี มีเพ็ชร์ บรรจง เหมมานนท์ ศุภวัตร ทิพยรักษ์ และ ศุภ ชัย ตั้งชูพงศ์ . 2539. การเปรียบเทียบเชิงเศรษฐ ศาสตร์ของการทำนาดำและนาหว่านข้าวแห้ง ราย งานการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ครั้งที่ 8 26 – 27 กุมภาพันธ์ 2539 ณ โรงแรมนภาลัย จ.อุดรธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสถิติการเกษตร. 2545. สถิติเพาะปลูกปี 2544/2545. Available from http:/www.nso.go.th/ eng/pub/keystat/key03/agri.pdf.
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. 2545. ความรู้เบื้อง ต้นเกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. กระทรวงวิทยา ศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. 71 หน้า
Buendia, L.V., H.U. Neue, R. Wassmann, R.S. Lantin, A.M. Javellana, J. Arah, Y. Xu, A. K.Makarim, T.M. Corton, and N. Charoensilp. 1996. Understanding the Nature of Methane Emission from Rice Ecosystems as a Basis for Mitigation Strategies. In: Proceedings of the International Symposium on Maximizing Sustainable Rice Yields through Improved Soil And Environmental Management. November 11-17, 1996.Charoen Thani Princess Hotel, Khon Kaen, Thailand. Volume 1: 291–306
Corton T.M., J.B. Bajita, F.S. Grospe, R.R. Pamplona, J. Asis, R. Wassmann, R. S. Latin and L.V. Buendia. 2000. Methane emission from irrigated and intensively managed rice filed in Central Luzon (Philippines). Nutrient Cycling in Agroecosystems 58: 37-53, 2000.
IPCC.1992. International Panel on Climate Change: The Supplementary Report to the IPCC Scientific Assessment p 25-47.
Joshua, S. 2000. Rice, microbes and methane. Nature 403 : 375-377.
Metra-Corton, T. M., J. B. Bajita, R. R. Pamplona and F.S. Grospe. 1996. Potential Mitigation Measure to Reduce Methane Emissio from Irrigated Lowland Rice. P 345 - 363 In: Proceedings of the International Symposium on Maximizing Sustainable Rice Yields Through Improved Soil and Environmental Management. Novemble 11-17, 1996. Charoen Thani Princess Hotel, Khon Kaen, Thailand.
Neue, H.U. and R. Sass. 1993.Trace gas emissions from rice fields. In : Methane emission in Rice Field. Workshop held at IRRI Philippines 30 Augt-3 September1993.
Rath, A.K., B. Ramakrishnan, D. panda, T.K. Adhya, V.R. Rao and N. Sethunathan. 1999. Influence of fertilizer management and water regime on methane emission from rice field. Agriculture, Ecosystems and Environment 76:99-107
Saenjan, P., D. Tulaphitak, T. Tulaphitak, S. Tangchupong, and S. Jearakongman. 2000. Methane emission from Thai Farmers’ Paddy fields in Khon Kaen, p 81-97. In: Proceedings of Annual Agricultural Seminar for Year 2001, 24 - 25 January 2000, Faculty of Agriculture, Khon Kean University, Khon Kean.
Saenjan, P.,D. Tulaphitak, T. Tulaphitak, S. Tangchupong, and S. Jearakongman. 2001. Methane emission from Thai Farmers’ Paddy fields in Khon Kaen, p 1-22. In : Proceedings of Annual Agricultural Seminar for Year 2001, 26 - 27 January 2001, Faculty of Agriculture, Khon Kean University, Khon Kean.
Saenjan, P., D.Tulaphitak, T .Tulaphitak, S.Tangchupong and S.Jearakongman.2002. Methane Emission from Farmers, Paddy Fields as a Basis for Appropriate Mitigation Technologies. 17th World Congress of Soil Science, 14-21 August 2002. Bangkok Thailand (0273.pdf) (11 pages).
Sass, R., F.M. Fisher, P.A. Harcombe and F.T. Turner. 1991. Methane production and emission in Taxas rice field. Global Biogeochemistry Cycle 4: 47-68.
Wang, Z., Y. Xu, Z. Li, Y. Guo, H. U. Neue and R. Wassman. 1996. Effect of Water Regime and Manure Emission from Rice Fields, p 345-363. In: Proceedings of the International Symposium on Maximizing Sustainable Rice Yields Through Improved Soil and Environmental Management. November 11 – 17, 1996. Charoenthani Princess Hotel, Khon Kaen, Thailand.1:345-363.
Wassmann R., R.S. Lantin, H.U. Neue, L.V. Buendia, T. M. Corton and Y. Lu. 2000. Characterization of methane emissions from rice fields in Asia. III. Mitigation options and future research needs, p23-36. In: Methane Emission from Major Rice Ecosystems in Asia. Nutrient Cycling in Agroecosystems 58: 23-36