ผลกระทบของถนนและการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินต่อสภาพทางอุทกวิทยาและการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กเขตภูเขาในภาคเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการปฏิบัติการวิจัยภาคสนามในภาคเหนือของประเทศไทย ได้ทำการประเมินผลกระทบทางอุทกวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยาของถนนในบริเวณลุ่มน้ำบนภูเขา ผลการศึกษาจากการ ใช้ฝนเทียมในบริเวณที่ทำการศึกษาทั้งการสำรวจการใช้ถนนเครือข่าย และการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุที่ถนนมักก่อให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดิน อันเนื่องมาจากการที่ความหนักเบาของฝนมีค่าเกินขีดความสามารถในการยอมให้น้ำซึมผ่านของดิน (Horton Overland Flow, HOF) ถนนจึงเป็นแหล่งนำตะกอนลงสู่ระบบทางน้ำลำธารโดยเฉพาะฤดูฝน ทางเชื่อมโยงของถนนที่ตัดผ่านระหว่างทางรถและห้วยหรือร่องลึกเป็นสาเหตุหนึ่งในการนำน้ำไหลบ่าที่เกิดจากลุ่มน้ำหนึ่งไปสู่อีกลุ่มน้ำหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียง และก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านอุทกวิทยาและการชะล้างพังทลาย เช่นเดียวกันกับถนนทางเดินเท้า เป็นตัวเร่งให้เกิดน้ำไหลบ่าและช่วยให้เกิดการกัดเซาะที่จุดนั้นมากขึ้นเช่นกัน พื้นผิวถนนซึ่งได้มีรถวิ่งอยู่เสมอ ตลอดจนการซ่อมบำรุงรักษาในแต่ละปีทำให้ปริมาณของตะกอนที่ถูกน้ำบ่าหน้าดินพัดพาไปมีมากขึ้น การจำลองสถานการณ์ทำได้ดีที่สุดเมื่อการจำลองชั้นพื้นผิวของเศษตะกอนเป็นไปอย่างถูกต้อง การวิจัยนี้จะใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการค้นคว้าต่อไปในเรื่องของผลกระทบสะสมของถนนและการเกษตรกรรมที่มีต่อตะกอนจากพื้นที่ลุ่มน้ำในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Article Details
References
Grayson, R.B., S.R. Haydon, M.D.A. Jayasuriya, and Finlayson, B.L. 1993. Water quality in the mountainous ash forest: Separating the impact of roads from those of logging operation. J. Hydrol, 150,459-480.
Horton, R.E. 1993. The role of infiltration in the hydrologic cycle.EOS, Am. Geophys. Union. Trans. 14, 446 460.
Megahan, W.F. 1983. Hydrologic effects of clear-cutting and wildfire on steep granitic slopes in Idaho. Water Resour. Res. 19(3): 811-819.
Megahan, W.F. and G.L. Ketcheson, 1996. Predicting down slope travel of granitic sediments from forest roads in Idaho. Water Resour. Bull. 32(2): 371 382.
Reid, L.M., and T. Dunne, 1984. Sediment production from forest road surface, Water Resour. Res., 20, 1753-1761.
Smith, R.E., D.C. Goodrich, and C.L. Unkrich, 1999. Simulation of selected events on the Catsop catchment by KINEROS2. A report for the GCTE conference on Catchment scale erosion model. Catena 37: 457-475.
Van der Plas, M.C., and L.A. Bruijnzeel. 1993. Impact of mecha- nized selective logging of rainforest on topsoil infiltrability in the Upper Segama area, Sabah, Malasia. Hydrology of Warm Humid Regions (Proc. of the Yokohama Symposium), July 1993.IAHS Publ. 216.
Ziegler, A.D. and T.W. Giambelluca, 1997a. Importance of rural roads as source areas for runoff in mountainous areas of northern Thailand. J. Hydrol. 196(1/4): 204-229.
Ziegler, A.D. 2000. Toward Modeling Road Erosion in Northern Thailand. Ph.D. dissertation, Geography Dept., University of Hawaii, Honolulu, HI. 104 p