งานวิจัยเพื่อชุมชนโดยชุมชน
งานวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) หรือมักเรียกกันสั้นๆ ในเวทีสัมมนาโดยทั่วไปว่า "PAR" คงไม่ใช่คำแปลกใหม่สำหรับนักวิจัย ถึงแม้ววามเข้าใจในเทคนิคและกระบวนการของ PAR จะไม่เด่นชัดนัก และมักจะแตกต่างกันไปในด้นเทคนิคกระบวนการเบื่อดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์ต่างกลุ่มกันก็ตม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นเทคนิคค่อนข้างใหม่ที่กำลังถูกบังกับให้นำเข้ามาใช้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากทุนวิจัยสมัยใหม่ได้ตั้งเป้าหมายของงานวิจัยไปที่ "ผู้ใช้ทดเทคโนโลยี" ซึ่งบางครั้งเรียกรวมๆ ว่า "Stakeholder" (แม้ว่า Stakeholder หมายรวมมากกว่าผู้ใช้เทคโนโลยีก็ตาม) ไม่มีทุนวิจัยตามความสนใจและอยากรู้ของนักวิจัยเองอีกแล้ว
การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นกิกรรมที่มุ่งหวังให้มีผู้ใช้เทคโนโลยีข้ามาร่วมคิด ร่วมกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับข้อกำกัดและทรัพยากรเดิมที่ตนเองมีอยู่ ถึงแม้ว่าทางเลือกนั้นกาจไม่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาตามหลักวิชาการก็ตาม นอกจากนี้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมยังคาดหวังเพิ่มเติมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้โดยตรง หรือเป็นการสาธิตวิธีแก้ไขปัญหาโดยตรงในระดับฟาร์ม อย่างไรก็ตม การวิจัยแบบมีส่วนร่วมอย่างที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน เกษตรกรหรือผู้ใช้เทคโนโลยียังมีส่วนร่วมน้อยเกินไป เพราะเป็นเพียงผู้มีบทบาทในการเลือกกำคับความสำคัญของเทคโนโลยีที่น่าศึกษา หรืมีส่วนในการให้ใช้ที่ดินหรือนาสวนเป็นแปลงทดลองเท่านั้น ทางที่ดีที่สุด ควรให้เกษตรกรหรือผู้ใช้เทคโนโลยีร่วมเป็นนักวิจัยด้วย ในลักษณะนี้จะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และผสมผสานเทคโนโลยีพื้นบ้านเข้าสู่ห่วงโซ่แห่งการวิจัยด้วย
นี่คือจุดสูงสุดของ "กรวิจัยเพื่อชุมชนโดยชุมชน" ถึงแม้งะไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการจัดการ และต้องใช้เวลาวิจัยมากกว่าปกติหลายเท่าก็ตาม
เผยแพร่แล้ว: 2020-09-24