ผลของการใช้ความร้อนต่อการลดอาการสะท้านหนาวของมะเขือเทศ

Main Article Content

นันทวุฒิ อิ่มศูนย์
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการเกิดอาการสะท้านหนาวของผลมะเขือเทศ โดยนำผลมะเขือเทศมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0, 3, 6 และ 10 องศาเซลเซียส พบว่า ผลมะเขือเทศ ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส นาน 14 วันแสดงอาการสะท้านหนาวมากที่สุด คือเกิดการยุบตัวของเนื้อเยื่อ และฉ่ำน้ำ มีการรั่วไหลของสารอีเล็กโตรไลต์ 75.93% สูญเสียน้ำหนัก 0.40% และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เพิ่มขึ้นจาก 3.66 เป็น 5.40% แต่ไม่มีผลต่อปริมาณวิตามินซี เมื่อนำผลมะเขือเทศมาแช่ในน้ำที่อุณหภูมิ 38, 42 และ 45 องศาเซลเซียส นาน 5, 10 และ 20 นาที ก่อนนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส นาน 12 วันผลปรากฏว่าการแช่ในน้ำที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียสนาน 10 นาทีสามารถลดอาการสะท้านหนาวของผลมะเขือเทศได้ดีที่สุดโดยมีการรั่วไหลของสารอีเล็กโตรไลต์ 42.42% มีปริมาณวิตามินซีลดลงจากเมื่อเริ่มต้นน้อยที่สุดและสูญเสียน้ำหนัก 0.34% แต่ไม่มีผลต่อปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรตได้และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้


เมื่อเปรียบเทียบผลมะเขือเทศที่ไม่ได้รับความร้อนกับที่ได้รับความร้อนโดยการแช่ในน้ำที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียสนาน 10 นาทีแล้วนำไปหั่นชิ้น และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส นาน 10 วัน พบว่า ผลมะเขือเทศที่ได้รับความร้อนก่อนหั่นชิ้นแสดงอาการสะท้านหนาวลดลง มีการรั่วไหลของสารอีเล็กโตรไลต์เท่ากับ 55.54 และ 41.10% มีปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรตได้เท่ากับ 0.38 และ 0.34% ในรูปกรดซิตริกและปริมาณวิตามินซีเท่ากับ 8.84 และ 9.84 มิลลิกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ แต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีผิว ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และการสูญเสียน้ำหนัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2545. [ระบบออนไลน์] สถิติการเกษตรของประเทศไทยปีเพาะปลูก 2544/45. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งที่มา www.http://oae.go.th/statistic/yearbook/2000-01/Section4/sec4table67.html (12 กันยายน 2545)
จริงแท้ ศิริพานิช. 2538. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, นครปฐม. 396 หน้า.
ดนัย บุณเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 222 หน้า.
นิธิยา รัตนาปนนท์และดนัย บุณยเกียรติ. 2533. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้เศรษฐกิจ. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 213 หน้า.
สายชล เกตุษา. 2536. การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 364 หน้า.
Sabehat, A., D. Weiss and S. Lurie. 1995. Persistance of heat shock proteins in heated tomato fruit and resistance to chilling injury of the fruit. Acta Hort. 398 : 11-21.
Wang, C.Y. 1993. Approach to reduce chilling injury of fruits and vegetable. Hort. Rev. 15: 62-94.