ตัวชี้วัดการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืนของระบบเกษตรที่สูง

Main Article Content

เบญจพรรณ เอกะสิงห์
เมธี เอกะสิงห์
ธันยา พรหมบุรมย์

บทคัดย่อ

เนื่องจากพื้นที่ทำกินของเกษตรกรส่วนใหญ่บนระบบเกษตรที่สูงมีลักษณะลาดชันซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมได้  งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการประเมินความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรที่ดินของระบบเกษตรที่สูงโดยใช้ข้อมูลจากการสอบถามครัวเรือนเกษตรกร  ได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างตัวชี้วัดการใช้ที่ดินแบบอนุรักษ์และความเสี่ยงต่อความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างง่าย โดยมีการให้คะแนนการปฏิบัติในการเกษตรแล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าตัวชี้วัดแบบไม่มีการถ่วงน้ำหนัก พื้นที่ศึกษาอยู่ภายในขอบเขตความรับผิดชอบศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 4 แห่ง คือ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ และ หนองหอย ในจังหวัดเชียงใหม่ และ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม ในจังหวัดลำพูน เก็บข้อมูลจากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 256 ครัวเรือน โดยมีการสุ่มตัวอย่างตามฐานะและสถานภาพการเป็นสมาชิกของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  ผลจากการศึกษาพบว่า แต่ละศูนย์ฯ/สถานีฯ จะมีค่าตัวชี้ความเสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและตัวชี้วัดการอนุรักษ์/ฟื้นฟูดินและน้ำ ในระดับที่แตกต่างกัน ที่ศูนย์หนองหอย มีค่าตัวชี้วัดความเสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เท่ากับ 0.61 รองลงมาคือ ที่ศูนย์ฯ    แม่แฮ อ่างขาง และพระบาทห้วยต้มซึ่งมีค่าตัวชี้วัดความเสี่ยงนี้เท่ากับ 0.55  0.41  0.28 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม  เกษตรกรในศูนย์/สถานีฯ ต่างๆ ก็ได้มีการตอบสนองต่อสภาพความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีการปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พบว่า ในศูนย์ฯหนองหอย ซึ่งมีค่าตัวชี้วัดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมสูง ก็มีค่าตัวชี้วัดการใช้ที่ดินแบบอนุรักษ์สูงที่สุดเช่นกัน เท่ากับ 0.57 เกษตรกรในศูนย์นี้ มีวิธีปฏิบัติในการอนุรักษ์ดินและน้ำ   โดยมีการทำขั้นบันได ทำร่องระบายน้ำ คันดิน ปลูกพืชตามแนวขวาง มีการพักพื้นที่บางปี มีการใช้แกลบและเศษเหลือของพืช  และมีการใช้ปูนขาว เป็นต้น รองลงมาคือที่ศูนย์ฯ แม่แฮ และ สถานีฯ อ่างขาง โดยมีค่าตัวชี้วัดด้านการอนุรักษ์เท่ากับ 0.52 และ 0.40 ตามลำดับ ส่วนที่ศูนย์ฯ พระบาทห้วยต้ม ซึ่งมีค่าตัวชี้วัดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมต่ำสุดก็มีค่าตัวชี้วัดการอนุรักษ์ดินและน้ำต่อสุดเช่นกัน คือเท่ากับ 0.23 ถ้ามีการศึกษาในลักษณะนี้ในพื้นที่สูงอื่น ๆ ก็จะทำให้สามารถเปรียบเทียบพื้นที่ต่างๆ และหาจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืนขึ้น  นอกจากนั้นควรจะมีการศึกษาประเด็นความยั่งยืนโดยการวัดตัวแปรด้านกายภาพและชีวภาพเพิ่มเติมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มูลนิธิโครงการหลวง. 2543. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและประสานงานมูลนิธิ โครงการหลวง: โครงการจัดที่ดินทำกินตัวอย่างในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปีงบประมาณ พ.ศ 2542. มูลนิธิโครงการหลวง
Azar, C., J. Holmberg and K. Lindgren. 1996. “Socio ecological indicators for sustainability.” Ecological Economics. 18: 89-112.
Kammerbauer, J., B. Cordoba, R. Escolan, S. Flores, V. Ramirez and J. Zelldon. 2001. “ Identification of development indicators in tropical mountainous regions and some implications for natural resource policy designs : an integrated community case study.” Ecological Economics. 36,45-60.
Lefroy, R. D.B., H. Bechstedt and M. Rais. 2000. “Indicators for sustainable land management based on farmer surveys in Vietnam, Indonesia and Thailand.” Agriculture, Ecosystems and Environment. 81, 137-146.
Masera, O., M. Astier and S. Lopez-Ridaura. 1999. Sustainability and Natural Resource Management: the MESMIS Evaluation Framework. Mexico city : Grupo Interdiscipilinario de Technologia Rural Aproplacia and Instituto de Ecologia.