ผลของระดับไนโตรเจนต่อการเติบโตและปริมาณโคลชิซีนในดองดึง

Main Article Content

วันเพ็ญ โลหะเจริญ
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของความเข้มข้นของไนโตรเจนต่อการเติบโตและปริมาณโคลชิซีนในดองดึง ทำการทดลอง ณ โรงเรือนปลูกพืชไร้ดินภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2544 ถึงเดือนพฤษภาคม 2545 เปรียบเทียบความเข้มข้นของไนโตรเจน 4 ระดับคือ 0, 210 (กรรมวิธีควบคุม), 420,  และ 630 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่าระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการปลูกดองดึง คือ 210 มิลลิกรัมต่อลิตร (ในกรรมวิธีที่ 2) ซึ่งทำให้ดองดึงมีความสูง และน้ำหนักหัวมากกว่ากรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ในกรรมวิธีนี้จำนวนดอก จำนวนฝัก มีแนวโน้มสูงกว่ากรรมวิธีอื่น ปริมาณโคลชิซีนรวมสูงที่สุดเมื่อได้รับในโตรเจน 420 มิลลิกรัมต่อลิตร ในระยะออกคอกเฉลี่ย 90.49 มิลลิกรัมการเก็บเกี่ยวดองดึงในระยะที่ 2 (29 วันหลังปลูก) ทำให้ได้ผลผลิตโคลชิซีนสูงที่สุดโดยให้ไนโตรเจนที่ระดับ 210 มิลลิกรัมต่อลิตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทิรา เมฆอรุณกมล. 2533. การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตดองดึง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 88 น.
ยงยุทธ โอสถสภา 2543. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 น.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2531. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. โอ เดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 880 น.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2536. สรีรวิทยาของพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 222 น.
Arambewela, L.S.R., M.A.N. Kumudini and J. Ranatunga.1991. “Studies on Gloriosa superba grown in Sri Lanka.” [Online]. Available http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (12 March 2002).
Briskin, D. P., A. Leroy and M. Gawienowski. 2000. Influence of nitrogen on the production of hypericins by St. John's wort. Plant Physiol. Biochem. 38 (5): 413-420.
Jones Jr, J. B. 1997. Hydroponics A Practice Guide for the Soilless Grower. St. Lucie Press, Florida. 230 p.
Kitcharoen, N. and W. D. Eknamkul. 1993. Distribution of colchicine in various plant parts of Gloriosa Superba L. Thai J. Pharm. Sci. 17 (3): 141-147.
Kumaraswamy, B. K., K. M. Bhojappa and A. A. Farooqi. 1994. “Influence of nitrogen on crop duration, seed yield and its components in glory lily (Gloriosa superba L.).” [Online]. Available http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/detail.nsp (12 March 2002).