พฤติกรรมของยีนควบคุมการสะสมธาตุเหล็กในเมล็ดของลูกผสมข้าวชั่วที่ 1

Main Article Content

ดำเนิน กาละดี

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพของขบวนการคัดเลือกเพื่อการปรับปรุงความสามารถในการสะสมเหล็กในเมล็ดข้าวขึ้นอยู่กับความเข้าใจในพฤติกรรมการแสดงบทบาทของยีนที่ควบคุมลักษณะดังกล่าว ลักษณะที่แสดงออกทาง phenotype ของลูกผสมชั่วที่ 1 สามารถบ่งชี้ถึงพฤติกรรมดังกล่าว  ทำให้สามารถคาดคะเนการตอบสนองทาง genotype  มี่เป็นผลจากขบวนการคัดเลือก ในงานการวิเคราะห์นี้ ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่จะใช้ประเมินพฤติกรรมสร้างจากการผสมที่ใช้ข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด (ข้าวเหนียวดำ) เป็นแม่และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (ข้าวขาว) เป็นพ่อ วิเคราะห์หาเหล็ก (Fe) โดยใช้วิธี Iron with O-phenanthroline method กับตัวอย่างชนิด dry ashing sample ของเมล็ดข้าวเปลือกและของเมล็ดข้าวกล้องที่เตรียมโดยการแกะด้วยมือ อ่านค่า absorbent ผ่าน spectrophotometer ที่ wavelength 510 nm เทียบค่านี้กับค่ามาตรฐานเพื่อประเมินปริมาณของเหล็กที่สะสมผลการวิเคราะห์แสดงว่า ข้าวเหนียวดำ (ก่ำดอยสะเก็ด) มีความสามารถในการสะสมเหล็กน้อยกว่าข้าวขาว (ขาวดอกมะลิ 105) ทั้งในเมล็ดข้าวเปลือกและเมล็ดข้าวกล้องส่วนในลูกชั่วที่ 1 นั้น ค่าความสามารถอยู่ระหว่างค่าความสามารถของพันธุ์พ่อและแม่และความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติใด ๆ เมื่อเทียบกับค่ากึ่งกลางระหว่างพ่อแม่ อย่างไรก็ตามค่าความสามารถของลูกผสมชั่วที่ 1 จะเคลื่อนเข้าใกล้กับค่าของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่สูงกว่าแสดงว่าพฤติกรรมของยีนที่ควบคุมความสามารถในการสะสมเหล็กในเมล็ดข้าวเป็นลักษณะของ additive action โดยมีพฤติกรรมเป็น partial dominance behavior

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดำเนิน กาละดี. 2541. เทคดนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์มิ่งเมือง.เชียงใหม่.255 หน้า.
AOAC. 1995. Official of analysis of AOAC international 16th. AOAC international .. Arlington Virginia. U.S.A.
Diers, B.W., S.R. Cianzio and R.C. Shoemaker. 1992. Possible identification of quantitative trait loci affecting iron efficiency in soybean. J. Plant Nutrition 15(10): 2127-2136.
Falconer, D.S. and T.F.C. Mackay.1992. Introduction to Quantitative Genetics 4th. Longman Group Ltd., 436.
Juliano, B.O.1993. Rice in human nutrition, Plant Breeding and Biochemistry Division. IRRI. Los Banos. Manila. Philippines.
Qui, L.C., J. Pan and B.W, Duan. 1993. The mineral nutrient component and characteristics of color and white brown rice. Chinese J. Rice Sci. 7(2): 95-100
Yang, X., Z.O. Ye, Ch. H. Shi and R. D. Graham. 1998. Genotypic difference in concentrations of iron, manganese, copper and zinc in polished rice grain. J. Plant Nutrition. 21(7): 1453-1462.