สมรรถภาพการเจริญเติบโตและอัตราการตายช่วงก่อนให้ไข่ของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงโดยเกษตรกรในหมู่บ้านพื้นที่จังหวัดลำปาง

Main Article Content

อรอนงค์ เลี้ยวธารากุล
วีรพงษ์ พลสยม
อำนวย เลี้ยวธารากุล

บทคัดย่อ

นำไก่พื้นเมืองอายุ 7, 8, 9, และ 10 สัปดาห์ไปให้เกษตรกรจำนวน 50 เกษตรกรรายเลี้ยงในหมู่บ้านโดยเกษตรกรจะได้รับไก่ 15 ตัวต่อราย (เพศผู้ 3 ตัว, เพศเมีย 12 ตัว) ผลการศึกษาพบว่า ไก่เพศผู้มีน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่า (P<0.01) ไก่เพศเมีย ส่วนไก่ที่เกษตรกรได้รับเมื่ออายุ 7, 8, 9, และ 10 สัปดาห์ พบว่ามีน้ำหนักตัวแตกต่างกัน (P<0.01) ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักเมื่อเริ่มมอบจนถึงน้ำหนักเมื่ออายุ 24 สัปดาห์ โดยไก่ที่เกษตรกรได้รับเมื่ออายุ 10 สัปดาห์มีน้ำหนักตัวสูงที่สุด เช่นเดียวกันกับอัตราการเจริญเติบโตสำหรับอัตราการตายของไก่ที่เกษตรกรได้รับเมื่ออายุ 7, 8, และ 9 สัปดาห์ มีอัตราการตายไม่แตกต่างกัน (P> 0.05) แต่ไก่ทั้ง 3 กลุ่มมีอัตราการตายสูงกว่า (P<0.01) ไก่ที่เกษตรกรได้รับมอบเมื่ออายุ 10 สัปดาห์ (P<0.05) ส่วนความแตกต่างระหว่างอัตราการตายของไก่เพศผู้และเพศเมียไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) การสูญเสียของไก่ที่เลี้ยงโดยเกษตรกร พบว่ามีการสูญเสียเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ตาย (86.65%), สูญหาย (5.04%), สุกรกัด (2.91%), สุนัขกัด (2.81%), และสาเหตุอื่น ๆ (2.60%)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิมล พรธิติศักดิ์, อรวรรณ เจนวิริยะโสภาคย์, สมใจ ศรีหาคิมและ โอ ซิกมันท์, 2535. โรคสำคัญที่เป็นสาเหตุ การตายของไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ประมวลเรื่องการประชุมวิชาการด้านการปศุสัตว์ครั้งที่ 11. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรุงเทพฯ.
สวัสดิ์ ธรรมบุตร, พิทยา นามแดงและวีระชัย โพธิวาระ. 2531. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในระบบของเกษตรกร. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ประมวลเรื่องการประชุมทางวิชาการด้านการปศุสัตว์ครั้งที่ 7. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
ไสว นามคุณ, ศิริพันธ์ โมราถบ และ อำนวย เลี้ยวธารากุล. 2541. น้ำหนักตัวและอัตราการตายของไก่พื้นเมืองในสภาพการเลี้ยงในหมู่บ้าน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 36. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อรอนงค์ เลี้ยวธารากุล. 2544 สภาพการเลี้ยงและความหลากหลายของลักษณะภายนอกบางประการของไก่พื้นเมืองในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง. วารสารวิชาการปศุสัตว์เขต 5.3(1): หน้า 15 – 28.
อำนวย เลี้ยวธารากุล, สมควร ปัญญาวีร์ และสันติสุข ดวงจันทร์. 2541. น้ำหนักตัว, อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการตายของลูกไก่พื้นเมือง ที่เกิดจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีภูมิคุ้มกันโรคนิวคาสเซิลสูงและต่ำ.การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อำนวย เลี้ยวธารากุล, พัชรินทร์ สนธ์ไพโรจน์ และศิริพันธ์ โมราถบ. 2540. การผสมพันธุ์และคัดเลือกไก่เนื้อ. พื้นเมืองสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม. 2. สมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์.การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 35 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Harvey, W.R. 1975. Least square analysis of data with unequal subclass number. Publication ARSH-4 USDA. Agriculture Research Service.
SAS. 1990. SAS/STAT User's Guide. SAS Inst. Inc., Cary, NC.