ผลการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับสหกรณ์โคนมบรรหารแจ่มใส 21 จำกัด

Main Article Content

พิชิต ธานี
ปริญญา อุทัศน์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มุ่งที่จะนำเอาแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ มาใช้วางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับสหกรณ์โคนมบรรหาร-แจ่มใส 21 จำกัด โดยใช้วิธีการศึกษา 3 วิธี คือ 1) การวางแผนกลยุทธ์แบบการมีส่วนร่วม โดยการทำอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus group discussion) 2) การวางแผนกลยุทธ์แบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) และเทคนิคการวิเคราะห์คาโนนิคอล (Canonical analysis) และ 3) การวางแผนกลยุทธ์แบบการประเมินหาตำแหน่งกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติ โดยใช้วิธี SPACE matrix ซึ่งผลการศึกษาพบว่าวิธีการศึกษาทั้ง 3 วิธีให้ผลสรุปคล้าย ๆ กัน กล่าวคือ ณ สถานการณ์ในปัจจุบันของสหกรณ์ โคนมบรรหาร-แจ่มใส 21 จำกัด สหกรณ์ต้องใช้ “กลยุทธ์การตั้งรับ” ซึ่งประกอบไปด้วยแนวทางการปฏิบัติ 2 ประการคือ (1) กลยุทธ์การตัดทอนบางธุรกิจออก (2) กลยุทธ์การกระจายธุรกิจออกจากศูนย์กลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กอปรลักษณ์ อัจฉริยโสภณ.2543. “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในโครงการสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม: ศึกษาเฉพาะกรณีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร”, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นลินี จารุกาญจนกิจ.2540. “การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญมี จันทรวงศ์.2544. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์ในภาคการเกษตร.กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.2542. การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เพชรจรัสแห่งโลก ธุรกิจ.
Hahn, D. 1991. Strategic Management-Tasks and Challenges in the 1990s. Long Range Planning (February), p. 26-39
Pearce, J.A. LL. 1982. An Executive-Level Perspective on the Strategic Management Process. California Management Review (Spring), p. 32.