การขยายพันธุ์ตะไคร้ต้นในสภาพปลอดเชื้อ : ผลของความชื้นและวัสดุปลูกต่อการรอดตาย ของต้นกล้า

Main Article Content

สุพรรณ สารภี
พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาเปรียบเทียบการขยายพันธุ์ตะไคร้ต้นโดยวิธีเพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยงส่วนปลายยอดในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าวิธีหลังได้ผลดีที่สุด เมื่อย้ายปลูกต้นกล้าตะไคร้ต้นออกจากขวดเพาะเลี้ยง พบว่ากล้าที่ย้ายปลูกในแกลบดำปนทราย (1:1) และปลูกเลี้ยงต้นกล้าในสภาพโรงเรือนควบคุมความชื้นที่ 75 เปอร์เซ็นต์และความเข้มแสง 50 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนการรอดตายสูงที่สุดคือ 80.00 เปอร์เซ็นต์ ต้นกล้าตะไคร้ต้นที่ย้ายปลูกมาจากสภาพปลอดเชื้อ สามารถเจริญเติบโตทางด้าน ความสูง จำนวนใบ และขนาดใบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเลี้ยงต้นกล้าตะไคร้ต้นนาน 3 และ 7 เดือน ทำให้มีพื้นที่ใบเฉลี่ยต่อใบเท่ากับ 22.55 และ 35.21 ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ การเพาะเลี้ยงปลายยอดในสภาพปลอดเชื้อ จึงเป็นวิธีการที่อาจนำมาใช้ขยายพันธุ์ตะไคร้ต้นได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล. 2541. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวขม ชาวลัวะ และชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 242 น.
เบญจวรรณ ซื่อสัตย์. 2542. น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรที่ปลูกในภาคเหนือของไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 24 49 น.
เยาวนิต พลพิมพ์. 2539. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในเขตศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อยและหนองเขียว. จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 258 น.
สสี ปันยารชุน และปราณี นันทศรี. 2524. น้ำมันหอมระเหยจาก Litsea cubeba Pers ในประเทศไทย. วารสารเภสัชศาสตร์ 8(3): 65.70.
Bauer, K. and D. Garbe. 1985. Common Fragrance and Flavor Materials. VCH Verlagsgesesllschaft, Weinheim. 213 P.