งานวิจัยกับการพัฒนา Knowledge based society
ในระบบการบริหารงานยุคปัจจุบัน หรือในยุดคิดใหม่ทำใหม่ คำพูดยอดฮิตที่ถูกนำมากล่าวอ้างเสมอเมื่อวงเสวนานั้นเกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณ คือ คำว่า “ประสิทธิภาพและประสิทธิผล” ในวงการวิจัยของเราเอง คำนี้ถูกนำมาพิจารณาน้อยมากในช่วงที่ผ่านมา เพราะเรามักจะกล่าวอ้างถึงคำว่า “ความมีอิสระทางวิชาการ” แต่จากนี้ไปแม้แต่วงการวิจัยก็จะถูกกระหนาบด้วยคำว่า “ประสิทธิภาพประสิทธิผล” เช่นกัน คำว่า“ Output” ไม่เพียงพอแล้ว แต่คำว่า “ Outcome” ดูเหมือนจะยิ่งสำคัญกว่าผลงานวิจัยตีพิมพ์ไม่เพียงพอแล้ว แต่ผลงานนั้นทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สังคมเพียงใด จะเป็นตัวชี้วัดสำหรับการพิจารณาให้ทุนวิจัยมากกว่า เรามีเงินน้อยเกินไปที่จะมาละลายเล่นเหมือนช่วง 10 ปีทองที่ผ่านมา
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้สำรวจข้อมูลการวิจัย พบว่า ในช่วงปีทองของเศรษฐกิจไทย (พ.ศ. 2535 – 2539) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วส) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) ได้จัดสรรงบประมาณในช่วง 5 ปีดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 26,429 โครงการงบประมาณรวม 4,522.94 ล้านบาทเ ป็นงบประมาณวิจัยด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรสูงที่สุด 2,826.46 ล้านบาท (ร้อยละ 62.49) รองลงไปตามลำดับ ได้แก่ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมและด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นจำนวนเงิน 770.42 570.65 และ 355.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.03 12.62 และ 7.86 ตามลำดับ
ในปี พ.ศ. 2540 เราก็ยังล้มทั้งยืน ด้วยปัญหาเศรษฐกิจอย่างชนิดที่เรียกว่าไม่สามารถช่วยตนเองได้เลยเราคงต้องมาคิดกันใหม่ว่า ประเทศไทยของเราจะใช้การวิจัยเป็นกลยุทธ์ผลักดันให้ประเทศชาติและชุมชนรากหญ้ากลายเป็น Knowledge based society ได้อย่างไร ภาษีอากรของชาติที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ จึงอาจจะคุ้มค่าขึ้นมาบ้าง
เผยแพร่แล้ว: 2020-10-08