ฤทธิควบคุมหนอนกระทู้ผักของสารสกัดหยาบจากค้างคาวดำ

Main Article Content

รัตติยา นวลหล้า
พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ, น้ำและต้มนาน 2 ชั่วโมง, เมทธานอล และอะซิโตนในการสกัดสารออกฤทธิ์ควบคุมหนอนกระทู้ผักจากใบและลำต้นใต้ดินค้างคาวดำ พบว่า สารสกัดหยาบด้วยน้ำธรรมดาไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการกินของหนอนกระทู้ผัก แต่สารสกัดหยาบจากลำต้นใต้ดินด้วยน้ำและต้มนาน 2 ชั่วโมงให้ผลยับยั้งการกินได้ดีเท่ากับสารสกัดหยาบด้วยเมทธานอล และ อะซิโตน ซึ่งในกรณีของอะซิโตน สารสกัดหยาบในระดับความเข้มข้นที่ต่ำถึง 1% ก็ยังแสดงฤทธิ์ยับยั้งการกินของหนอนได้ดีมาก   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
รัตติยา นวลหล้า. 2542. การใช้สารสกัดจากสมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในคะน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขา วิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 91 น.
วงค์สถิตย์ ฉั่วกุล พร้อมจิต ศรลัมพ์ วิริต เปานิล และรุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. 2539. สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,กรุงเทพฯ. 263 น.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. สำนักพิมพ์โอเดียน-สโตร์, กรุงเทพฯ. 618 น.
ศิริพันธ์ สุขมาก และ บัณฑิต คำรักษ์. 2537. การ วิจัยชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างของวัตถุมีพิษในพืชผัก. รายงานผลการค้นคว้าวิจัยปี 2537. กองวัตถุมีพิษการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์, กรุงเทพฯ. 229 น.
สุภาณี พิมพ์สมาน. 2540. สารฆ่าแมลง. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.164 น.
Escoubas, P., L. Lajide and J. Mitzutani. 1993. An improved leaf-disk antifeedant bioassay and its application for the screening of Hokkaido plants. Entomol. Exp. Appl. 66: 99-107.