งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์กับโครงการพัฒนาชุมชน

เราต้องยอมรับว่า ในฐานะนักวิจัย เราให้ความสำคัญกับโครงการประเภท “พัฒนาชุมชน” น้อยมากสาเหตุอาจเป็นเพราะทัศนคติที่เรามีต่อ “โครงการพัฒนาชุมชน” ว่าเป็นโครงการประเภทถ่ายทอดเทคโนโลยีที่นักวิจัยพัฒนาเสร็จแล้วไปสู่เกษตรกร หรือผู้ประกอบการ ไม่มีสาระหรือองค์ความรู้ใหม่ที่นักวิจัยควรจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องดูแล แต่อย่างใด

ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องยอมรับเช่นกันว่า ปัญหาของชุมชนในปัจจุบันนี้มีความซับซ้อนมากกว่าแต่ก่อนมาก ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนไม่ใช่เพียงปัจจัยที่เรามองเห็นด้วยตา หรือสัมผัสได้ด้วยระบบสัมผัสปกติได้ ยังมีปัจจัยในมิติของสังคม เศรษฐกิจ เข้ามามีส่วนเสริมอย่างสำคัญอีกด้วย ดังนั้นการนำเทคโนโลยีไปใช้ในชุมชน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยควบคู่ไปด้วยเสมอ เพื่อปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับแต่ละชุมชนต่อไป

ในความเป็นจริง “การพัฒนาชุมชน” อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลวิจัยเสมอและนักวิจัยเท่านั้นที่จะเป็นผู้ชี้นำการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนได้ ประเทศของเรายังต้องการผลงานวิจัยลักษณะนี้อีกมาก

ในฐานะนักวิจัยเราน่าจะให้ความสนใจกับ “โครงการพัฒนาชุมชน” ให้มากขึ้นอีก โจทย์วิจัยของเราจึงจะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และจะไม่ถูกปรามาสเรื่องผลงานวิจัยบนทิ้งอีกต่อไป

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-08

การปรับปรุงพันธุ์เห็ดหอมโดยการผสมพันธุ์แบบสปอร์เดี่ยว

หทัยกาญจน์ นำภานนท์, วิเชียร ภู่สว่าง

185-195

การผสมพันธุ์ว่านสี่ทิศพื้นบ้าน

วนนท์ สุดสงวน, ฉันทนา สุวรรณธาดา

196-199

การพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ของผักกาดขาวปลีลูกผสมชั่วที่หนึ่ง

เอกพจน์ พยัคฆภาพ, โชคชัย ไชยมงคล, ตระกูล ตันสุวรรณ, มณีฉัตร นิกรพันธุ์

200-211

การกัดชะและน้ำไหลบ่าหน้าดินจากป่าเบญจพรรณเชียงดาวเชียงใหม่

พรชัย ปรีชาปัญญา, ธรรมนูญ แก้วอำพุท, ชัชวาลย์ จันทร์กล้า, ชาติชาย ณ.ลำปาง, พิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์

222-229

การใช้กากทานตะวันทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่เนื้อ

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, รุ่งรัตน์ ปิงเมือง, บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

230-240

คุณภาพโปรตีนและค่าพลังงานใช้ประโยชน์ของกากทานตะวันและกากเรปซีด

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล , วีระศักดิ์ สามารถ , สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์

247-258